เมื่อห้าปีก่อนได้ประสิทธิภาพสูงสุดที่ 13.7% เพียงสามปีถัดมาก็ขยับเพิ่มเป็น 25.2% และเมื่อต้นปีนี้เองโซลาร์เซลล์ชนิดใหม่นี้ทำประสิทธิภาพสูงถึง 27.7% และล่าสุดทีมวิจัยที่สถาบัน Helmholtz-Zentrum Berlin (HZB) ประเทศเยอรมันสามารถสร้างโซลาร์เซลล์ชนิดเพอร์โรฟสไกป์-ซิลิกอนที่มีประสิทธิภาพสูงถึง 29.15% ซึ่งสูงที่สุดเป็นสถิติโลกใหม่ของเทคโนโลยีนี้ซึ่งเกือบทะลุผ่านไมล์สโตนสำคัญที่ 30% และอยู่ไม่ไกลจากขีดจำกัดทางทฤษฎีที่ 35% แล้วด้วย casino free spin
เหตุผลสำคัญที่ทำให้โซลาร์เซลล์ชนิดใหม่มีประสิทธิภาพสูงมากเป็นเพราะวัสดุหลักสองชนิดดูดซับพลังงานแสงที่มีความยาวคลื่นต่างกัน ซิลิกอนดูดซับพลังงานย่านแสงสีแดงและย่านอินฟราเรดได้ดี ในขณะที่เพอร์โรฟสไกป์จะทำได้อย่างยอดเยี่ยมในย่านแสงสีเขียวและสีน้ำเงิน ดังนั้นเมื่อนำวัสดุทั้งสองชนิดมาวางซ้อนอยู่ในเซลล์เดียวกันจึงทำให้มีการดูดซับพลังงานทุกย่านความถึ่ของแสงอาทิตย์ ผลคือโซลาร์เซลล์ชนิดใหม่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างมาก casino firmaları
“โซลาร์เซลล์ชนิดจับคู่ซิลิกอนกับเพอร์โรฟสไกป์เป็นตัวเลือกที่มีแนวโน้มสามารถก้าวข้ามขีดจำกัด ประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์ได้” ทีมวิจัยกล่าว “ประสิทธิภาพ 29.15% ไม่เพียงเป็นสถิติของเทคโนโลยีนี้แต่มันยังเป็นประสิทธิภาพระดับสูงสุดของบรรดาแผงโซลาร์เซลล์เกิดใหม่อีกด้วย” canlı bahis siteleri
ในงานวิจัยนี้ประสิทธิภาพ 29.15% ได้มาจากการทดสอบกับแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 1 ซม. x 1 ซม. แต่นักวิจัยบอกว่าการขยายให้มีขนาดเท่ากับที่ใช้งานได้จริงทำได้ไม่ยาก และหลังจากผ่านการทดลองใช้งานนาน 300 ชั่วโมงแผ่นโซลาร์เซลล์นี้ยังคงรักษาระดับ 95 เปอร์เซ็นต์ของประสิทธิภาพเดิมเอาไว้ได้ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีอีกอย่างหนึ่ง
นี่เป็นความสำเร็จครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งของการพัฒนาโซลาร์เซลล์แต่นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้หยุดแต่เพียงเท่านี้พวกเขายังคงเดินหน้าต่อเพื่อไปให้ถึงขีดจำกัดทางทฤษฎีที่ 35% ให้จงได้
“พวกเราสามารถทำได้เกิน 30% อย่างแน่นอน” หนึ่งในทีมวิจัยกล่าว
ข้อมูลและภาพจาก eurekalert, sciencealert