กระบวนการของพวกเขาจะเปลี่ยน CO2 ให้เป็นเอทานอลด้วยปุ่มปลายแหลมขนาดเล็กมากๆของคาร์บอนและทองแดง
Adam Rondinone หนึ่งในทีมวิจัยกล่าวว่าพวกเขาสะดุดเข้ากับกระบวนการนี้เกือบจะโดยบังเอิญ
“เรากำลังพยายามศึกษาขั้นตอนแรกของปฏิกิริยาที่เราคิดเอาไว้ เรากลับพบว่าตัวเร่งปฏิกิริยามันทำปฏิกิริยาทั้งหมดด้วยตัวมันเอง” Rondinone กล่าว
“เป็นเรื่องน่าประหลาดใจที่เราได้เอทานอล เพราะมันเป็นเรื่องยากมากๆที่เปลี่ยนจาก CO2 เป็นเอทานอลโดยตรงด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาอย่างเดียว” เขากล่าวเสริม
Rondinone และเพื่อนร่วมงานของเขาใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ทำจากคาร์บอน ไนโตรเจน และทองแดง แล้วใช้กระแสไฟฟ้า ซึ่งก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีอันซับซ้อนที่ย้อนกลับกระบวนการเผาไหม้
ด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิคนี้กับสารละลายของ CO2 ที่ละลายในน้ำ ทำให้สามารถผลิตเอทานอลได้ในอัตรา 63 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งโดยปกติปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมีชนิดนี้จะได้ผลในปริมาณที่ค่อนข้างน้อย
นักวิจัยกล่าวว่าพวกเขาวางแผนที่จะศึกษาคุณสมบัติและพฤติกรรมของตัวเร่งปฏิกิริยาเพิ่มเติม และจะปรับแต่งแนวทางเพื่อเพิ่มอัตราการผลิตโดยรวมของเอทานอล
Rondinone ชี้ว่ากระบวนการนี้สามารถนำมาใช้ทั้งกับโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลและระบบพลังงานทดแทน เขากล่าวว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าส่วนเกินจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์สามารถใช้ทำเอทานอลเก็บไว้ และนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าในช่วงที่ไม่มีลมหรือหลังดวงอาทิตย์ตก
“นี่อาจจะช่วยในการปรับสมดุลของระบบจ่ายไฟฟ้าโดยแหล่งพลังงานทดแทนเป็นระยะๆ” เขากล่าว
ยานพาหนะที่มีอยู่และแม้กระทั่งเครื่องบินบางส่วนสามารถใช้เชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเอทานอลได้ แต่หนึ่งในกระบวนการผลิตเอทานอลที่ใช้เป็นหลักในปัจจุบันทำมาจากข้าวโพด ซึ่งจริงๆแล้วมันสร้างปัญหาภาวะโลกร้อนมากกว่าจะช่วยแก้ไข
ข้อมูลและภาพจาก mashable, popularmechanics