โครงการนี้นอกจากจะได้ประโยชน์ด้านความมั่นคงของพลังงานหมุนเวียนแล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาคนงานของเหมืองเดิมจะได้มีงานทำต่อที่โรงไฟฟ้าใหม่อีกด้วย
เหมือง Prosper-Haniel ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1863 ผลิตถ่านหินได้ 3 ล้านตันต่อปี เป็นหนึ่งในเหมืองถ่านหินเพียงไม่กี่แห่งในเยอรมันที่ยังดำเนินการอยู่ แต่มันถูกกำหนดให้ปิดตัวในปี 2018
โรงไฟฟ้าแบบสูบน้ำไม่ใช่ของใหม่ มันมีใช้งานอยู่แล้วทั่วโลก แต่นี่เป็นครั้งแรกที่มีการดัดแปลงใช้เหมืองถ่านหินมาเป็นส่วนหนึ่งของโรงไฟฟ้า
เมื่อต้องการชดเชยการผลิตไฟฟ้าที่ไม่ต่อเนื่อง เช่น ในช่วงที่ไม่มีลมหรือไม่มีแดด ก็จะปล่อยน้ำจากอ่างเก็บน้ำที่มีความจุกว่า 1 ล้านคิวลงไปยังกังหันที่ด้านล่างต่ำลงไป 1,200 เมตรเพื่อผลิตไฟฟ้า น้ำที่ผ่านกังหันแล้วจะถูกเก็บอยู่ในอุโมงค์ด้านล่างที่ยาวถึง 26 กิโลเมตร ในช่วงที่มีไฟฟ้าเหลือใช้ก็สูบน้ำขึ้นไปเก็บไว้ที่อ่างเก็บน้ำด้านบนเตรียมไว้ใช้งานต่อไป
คนงานเหมืองที่ทำงานอยู่ในที่นี้มานับทศวรรษจะยังคงได้รับการจ้างงานต่อไป แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่งาน ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาใหญ่ไปได้อีกเรื่องหนึ่ง
เยอรมันอาจมีโครงการแบบนี้เพิ่มขึ้นอีกเนื่องจากพวกเขากำลังเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน โดยมีเป้าหมายใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างน้อย 30% ภายในปี 2025 และอย่างน้อย 80% ภายในปี 2050
ข้อมูลและภาพจาก ecowatch, mining