เพื่อพิสูจน์ทฤษฎีนี้ Diaz และทีมงานได้เก็บข้อมูลจากผู้ที่สวมอุปกรณ์ติดตามวัดความแอคทีฟ (Activity Tracker) ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีจำนวน 7,895 คน มีทั้งคนผิวขาวคนผิวดำหลายเชื้อชาติร่วมในการสำรวจ พบว่ารูปแบบของการอยู่กับที่สัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
จากข้อมูลการสำรวจพบว่า 77% ของผู้ที่เข้าร่วมในการสำรวจใช้เวลาในการนั่งมากกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน และจากการติดตามผลในอีก 4 ปีต่อมามีผู้เสียชีวิตไป 340 คน ทีมงานได้คำนวณอัตราการเสียชีวิตเทียบกับรูปแบบของการนั่งกับที่และเวลาที่นั่งกับที่ทั้งหมด
ผลการคำนวณพบว่าอัตราความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในกลุ่มที่นั่งกับที่นานที่สุดคือนั่งนานเกิน 13 ชั่วโมงต่อวันและนั่งต่อเนื่องนาน 60 – 90 นาทีถึงจะลุกขึ้นครั้งหนึ่ง ส่วนกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตน้อยที่สุดคือกลุ่มที่นั่งกับที่นานไม่เกิน 30 นาทีแล้วลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย
“ดังนั้นถ้าคุณมีงานหรือการดำเนินชีวิตที่คุณจะตั้งนั่งเป็นเวลานานๆละก็ เราแนะนำให้คุณหยุดพักลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายทุกๆ 30 นาที” Diaz กล่าว “การเปลี่ยนอิริยาบถนี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของคุณได้ แม้ว่าเรายังไม่รู้แน่ชัดว่าต้องถี่ขนาดไหนถึงจะดีที่สุด”
งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าการนั่งกับที่อย่างยาวนานในแต่ละวันไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพและมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง แต่หากคุณจำเป็นต้องทำอย่างนั้นการลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆทุกๆ 30 นาทีจะช่วยได้เยอะทีเดียว
ข้อมูลและภาพจาก columbia.edu, newatlas