เรารู้กันมานานหลายทศวรรษแล้วว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับสารอาหารระหว่างการเติบโตในวัยเด็กกับสุขภาพในวัยผู้ใหญ่และกระบวนการเผาผลาญของร่างกาย แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงอาหารในช่วงสั้นๆซึ่งมีผลโดยตรงต่อปริมาณพลังงานที่เซลล์จะนำไปใช้ได้นั้น สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ถาวรต่อชีวิตก็ตาม
นักวิจัยได้ตัดสินใจที่จะตรวจสอบแนวความคิดที่ว่าการลดการผลิตพลังงานของเซลล์อาจชะลอกระบวนการชราภาพลงได้ พวกเขามุ่งความสนใจไปที่ไมโทคอนเดรียซึ่งเป็นแหล่งสร้างพลังงานของเซลล์
แม้ว่าจะมีขนาดเล็กนิดเดียวแต่ไมโทคอนเดรียมีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรคที่มีอายุเป็นปัจจัยสำคัญเช่นพาร์กินสัน อัลไซเมอร์ และโรคมะเร็ง
การค้นพบก่อนหน้านี้โดยศาสตราจารย์ Andrew Dillin ในปี 2004 แสดงให้เห็นว่าการทำให้เกิดความเครียดในไมโทคอนเดรียของหนอนในช่วงแรกของการเติบโตทำให้พวกมันมีอายุเพิ่มเกือบเท่าตัว ในการทำงานครั้งใหม่นี้นักวิจัยได้รับการคลี่คลายแล้วว่ากลไกนี้ทำงานได้ผลจริงได้อย่างไร
สิ่งที่พวกเขาค้นพบก็คือความเครียดในไมโทคอนเดรียทำให้เกิดการสลับลำดับยีนซึ่งไปกระตุ้นเอนไซม์ในสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับดีเอ็นเอ เปิดเผยให้เห็นยีน 1,500 ตัวที่มีผลต่อการทำงานของไมโทคอนเดรีย
มันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกของสมองเรื่องความหิว ส่งผลกระทบต่อเซลล์ประสาทที่รับรู้สถานะด้านอาหาร และทำให้พวกมันเกิดการเปลี่ยนแปลงในการเผาผลาญอาหาร
การสังเกตหนูทดลองตั้งแต่แรกเกิดได้สนับสนุนความคิดที่ว่าเอนไซม์มีบทบาทสำคัญในการทำให้อายุยืน ทีมงานพบว่าหนูที่มีอายุยืนจะเป็นหนูที่มีการแสดงออกของเอนไซม์ดังกล่าวสูงกว่า
“มีเอนไซม์สองตัวที่เราค้นพบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมากกับอายุขัย มันเป็นความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมที่มากที่สุดเท่าที่เคยพบในเรื่องอายุขัยของหนู และทั้งสองตัวเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ” ศาสตราจารย์ Dillin กล่าว
แล้วการค้นพบเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับอายุขัยของมนุษย์หรือไม่? ตอนนี้เรายังคงจัดวางชิ้นส่วนของปริศนาที่ซับซ้อนมากเข้าด้วยกันอยู่ และมันก็เป็นไปได้ว่ากลไกเหล่านี้อาจจะแตกต่างออกไปในมนุษย์
การพัฒนามีความสำคัญมากและเป็นไปได้ว่าความรู้จะนำไปสู่ความสามารถที่จะทำให้เอนไซม์กำหนดกระบวนการเผาผลาญของเราใหม่เพื่อให้เรามีสุขภาพดีขึ้น และอาจจะยืดอายุขัยของเราได้