ความเหงา
การเติบโตของสื่อสังคมออนไลน์และการลดลงของการติดต่อพบปะกันโดยตรงทำให้เกิดโรคความเหงาระบาดลุกลามไปทั่วโลกและอาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้ Julianne Holt-Lunstad ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยบริคแฮม ยัง (Brigham Young University) พบในงานวิจัยของเธอว่าความเหงาทำให้อายุของคนลดลงเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน
การนั่งนานๆ
งานวิจัยเมื่อปี 2014 พบว่าการนั่งตลอดทั้งวันเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งจำนวนมาก นักวิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลจากคนกว่า 4 ล้านคนเกี่ยวกับการนั่งดูทีวี, ทำงาน และเดินทาง พวกเขาพบว่าการนั่งเพิ่มขึ้นทุก 2 ชม.จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก, มะเร็งปอด โดยไม่คำนึงถึงว่าพวกเขายังออกกำลังกายอยู่หรือไม่ในระหว่างวัน
การนอนไม่พอ
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคได้เรียกการอดนอนว่าเป็นปัญหาสาธารณสุข เนื่องจากมีผู้ป่วยประมาณ 50 ถึง 70 ล้านคนในสหรัฐอเมริกามีอาการนอนไม่หลับ ศาสตราจารย์ Valery Gafarov ขององค์การอนามัยโลกระบุว่าการนอนหลับไม่เพียงพอทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบและโรคหัวใจเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่โดยทั่วไป
การอาบแดด
ทั้งการอาบแดดแบบในร่มและการอาบแดดกลางแจ้งล้วนมีอันตรายเสียยิ่งกว่าการสูบบุหรี่ ในปี 2014 นักวิจัยพบว่าการอาบแดดในร่มเพียงอย่างเดียวทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังมากกว่ามะเร็งปอดที่เกิดจากการสูบบุหรี่ การอาบแดดในร่มที่เป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งผิวหนังจำนวนมหาศาลนี้จัดว่าเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญอย่างหนี่งเลยทีเดียว
อาหารไม่ดี
มีหลักฐานมากมายที่พบว่าอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันอิ่มตัวสูงทำให้ผู้คนเป็นโรคร้ายที่อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตในอัตราที่ถ้าไม่มากกว่าก็ใกล้เคียงกับการสูบบุหรี่ ปี 2016 นักวิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากอาหารที่ไม่ดีแล้วสรุปว่ามีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าการดื่มสุรา, การใช้ยาเสพติด, เพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกัน และการสูบบุหรี่รวมกัน
ข้อมูลและภาพจาก businessinsider, sciencealert