ที่บนโลกแสงออโรราเกิดจากลมสุริยะมีปฏิกิริยากับอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า (ส่วนใหญ่เป็นโปรตอนและอิเล็กตรอน) ในสนามแม่เหล็กโลก อนุภาคที่มีประจุเหล่านี้พัดเข้าสู่ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์และเดินทางไปตามแนวเส้นสนามแม่เหล็กไปขั้วโลกที่ซึ่งเกิดปฏิกิริยากับอนุภาคอื่นๆ เช่น ออกซิเจนและไนโตรเจนกลายเป็นแสงสีสวยวิ่งไปมาบนท้องฟ้า
แสงออโรราไม่ได้มีเฉพาะที่บนโลก ดาวเคราะห์อื่นในระบบสุริยะก็มีแสงออโรราด้วย ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน รวมทั้งดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะก็ได้แสดงหลักฐานว่ามีแสงออโรราด้วยเช่นกัน
แสงออโรราที่บนดาวพฤหัสบดีไม่เหมือนกับบนโลกเพราะว่าไม่ได้เกิดจากลมสุริยะ แต่กลไกการเกิดอันลึกลับยังไม่ถูกค้นพบ ส่วนบนดาวเสาร์ดูเหมือนว่าเกิดจากลมสุริยะแต่ยังมีอีกหลายอย่างที่เรายังไม่รู้ และแสงออโรราบนดาวเสาร์ (รวมทั้งบนดาวพฤหัสบดี ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน) ต่างจากบนโลกตรงที่มันไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตา แต่อุปกรณ์พิเศษบนกล้องฮับเบิลสามารถเห็นได้ในแสงอัลตราไวโอเลต ดังรูปข้างล่าง
“การแปรปรวนของแสงออโรราเป็นผลมาจากทั้งลมสุริยะและความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของดาวเสาร์ ซึ่งใช้เวลาราว 11 ชม.เท่านั้น” ทีมงานของกล้องฮับเบิลกล่าว
ข้อมูลและภาพจาก sciencealert, space