กระบวนการหมักแต่ละครั้งจะประกอบด้วยขั้นตอนการใส่ยีสต์ลงในถังน้ำองุ่น และต้องรออีก 7 ถึง 21 วันเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาตามธรรมชาติเสร็จสมบูรณ์ แต่เนื่องจากยีสต์ที่แตกต่างกันทำให้ไวน์มีรสชาติแตกต่างกัน การทดลองหาส่วนผสมที่ดีที่สุดจึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลานาน นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังมีผลกระทบต่อการหมักด้วย “สาเหตุจากความร้อนทำให้ในบางรอบการผลิตองุ่นจะสุกเร็วเกินไป การเก็บเกี่ยวจะเกิดขึ้นเร็ว และไวน์ที่ผลิตขึ้นจะมีปริมาณแอลกอฮอล์ที่สูงขึ้นหรือมีรสชาติที่แตกต่างออกไป” Attinger กล่าวในการแถลงข่าว
ดังนั้นเขาสร้างอุปกรณ์ขนาดเล็กที่แยกส่วนเป็นหลายห้อง ห้องหลักมีช่องสำหรับให้น้ำองุ่นไหลผ่าน ห้องที่อยู่ติดกันมียีสต์และเยื่อบางๆที่มีรูพรุนขนาดเล็กมากเหมือนถุงชา ซึ่งยีสต์สามารถผ่านเข้าสู่ห้องหลักได้ และเนื่องจากยีสต์ถูกกักอยู่ในพื้นที่เล็กๆ กระบวนการหมักจึงเสร็จสิ้นในเวลาเพียงหนึ่งชั่วโมง โดยใช้อุปกรณ์นี้จึงสามารถทำซ้ำได้อย่างง่ายดาย ด้วยการใช้ยีสต์ที่แตกต่างกันหรืออุณหภูมิที่แตกต่างจะช่วยให้การทดลองทำได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องรอเป็นสัปดาห์อย่างแต่ก่อน
Attinger กำลังทดสอบอุปกรณ์นี้อยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์รัฐสวิส เมืองโลซาน (EPFL) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เครื่องผลิตไวน์จิ๋วนี้จะมีประโยชน์กับผู้ผลิตไวน์ในสถานการณ์ที่โลกกำลังร้อนขึ้นเป็นอย่างมาก
นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้ปฏิเสธถึงความเป็นไปได้ที่นักดื่มไวน์จะใช้อุปกรณ์นี้ทำไวน์ที่บ้าน แต่มีข้อด้อยบางอย่างที่ควรคำนึงถึง ได้แก่
- อุปกรณ์นี้ผลิตไวน์ได้เพียง 1 ซีซีต่อชั่วโมง ด้วยอัตราขนาดนี้คุณจะต้องรอนานถึง 4 วันถึงจะได้ไวน์เพียง 1 แก้ว
- เรื่องรสชาติ อุปกรณ์นี้ผลิตไวน์ได้ดีพอสำหรับการทดสอบ แต่มันไม่ได้มีจุดมุ่งหมายสำหรับการดื่มตามปกติ
“มันยังมีเคล็ดลับอีกมาก” Philippe Renaud หัวหน้าห้องปฏิบัติการที่ EPFL กล่าว “มันใช้กระบวนการอย่างง่ายและผลลัพธ์ที่ได้ยังไม่ดีเท่ากับไวน์ธรรมดา”
ข้อมูลและภาพจาก howstuffworks, sciencealert