ดวงจันทร์เทียมจะถูกเคลือบด้วยสารสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ชั้นดี พร้อมกับมีแผงโซลาร์เซลล์คล้ายปีกซึ่งปรับมุมการรับแสงได้ พื้นที่ 14,300 ตารางในเมืองของเมืองเฉิงตูจะเป็นจุดโฟกัสตั้งต้นของแสงจากดวงจันทร์เทียม และความสว่างของดวงจันทร์เทียมจะถูกควบคุมไม่ให้มากเกินจนไปรบกวนสัตว์ป่าท้องถิ่นอีกด้วย
เจ้าหน้าที่ของเฉิงตูคาดว่าเมืองจะดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากขึ้นเมื่อดวงจันทร์เทียมถูกส่งขึ้นไปและส่องแสงอยู่บนท้องฟ้า แต่สำหรับคนที่ไม่อยากเดินทางไปเมืองเฉิงตูสามารถดูดวงจันทร์เทียมนี้ได้ทางกล้องโทรทรรศน์ของนักดาราศาสตร์ก็ได้ และเจ้าหน้าที่ได้เพิ่มเติมว่าได้ไอเดียเรื่องนี้จากศิลปินชาวฝรั่งเศสที่ต้องการแขวนสร้อยคอที่ทำจากกระจกอยู่เหนือโลกเพื่อสะท้อนแสงอาทิตย์ไปยังกรุงปารีสในยามค่ำคืนตลอดทั้งปี
อย่างไรก็ตามไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดและเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างดวงจันทร์เทียมของเมืองเฉิงตูแต่อย่างใด เจ้าหน้าที่บอกว่าดาวเทียมส่องแสงนี้ได้เริ่มทดสอบมาหลายปีแล้ว และเทคโนโลยีและการออกแบบทั้งหมดมีข้อสรุปเรียบร้อยแล้ว โดยดวงจันทร์เทียมจะถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรค้างฟ้า (Geostationary Earth Orbit) เหนือเส้นศูนย์สูตรของโลก
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีความพยายามในลักษณะนี้ ปี 1993 รัสเซียได้เปิดเผยโครงการส่งระบบสะท้อนแสงอาทิตย์ที่เรียกว่ากระจกอวกาศ “space mirror” โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะผลิตแสงสว่างเทียบเท่ากับ 3 – 5 เท่าของพระจันทร์เต็มดวงครอบคลุมพื้นที่ในรัศมีราว 5 กิโลเมตร และในปี 1999 รัสเซียพยายามส่งกระจกอวกาศอีกครั้งแต่ไม่ประสบความสำเร็จ
เราคงต้องรออีกสองสามปีเพื่อจะได้รู้ว่าโครงการนี้จะเป็นจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าโครงการนี้มีแนวคิดสำหรับนวัตกรรมทางอวกาศที่แปลกและน่าอัศจรรย์ใจไม่น้อยเลยทีเดียว
ข้อมูลและภาพจาก livescience, atimes