นักวิจัยค้นพบสิ่งน่าอัศจรรย์ในสมุดโน้ตที่เขียนอย่างลวกๆของดาวินชี

จนถึงขณะนี้นักประวัติศาสตร์ศิลปะก็ไม่ได้ให้ความสนใจต่อลายเส้นขยุกขยิกในสมุดโน้ตของดาวินชี เนื่องจากเห็นว่าไม่มีอะไรเกี่ยวข้อง

แต่จากงานวิจัยของ Ian Hutchings อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์แสดงให้เห็นว่าหน้าหนึ่งของงานเขียนลวกๆตั้งแต่ปี 1493 จริงๆแล้วมันเป็นการค้นพบบางอย่างที่สำคัญ นั่นคือ การเขียนบันทึกเป็นครั้งแรกที่แสดงกฎของแรงเสียดทาน

แม้ว่าจะเป็นที่รู้กันดีว่าดาวินชีเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องแรงเสียดทานอย่างดีเยี่ยมมานานหลายศตวรรษก่อนที่วิทยาศาสตร์สมัย​​ใหม่เรื่องไทรโบโลยี (การศึกษาเรื่องแรงเสียดทาน การหล่อลื่น และการสึกหรอ) จะถูกจัดการให้เป็นระบบ แต่เขาได้พัฒนาแนวคิดในเรื่องแรงเสียดทานเมื่อไหร่และอย่างไรนั้นยังคงเป็นปริศนา

สมุดโน้ตหน้านี้ได้รับความสนใจในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เนื่องจากภาพเขียนที่เลือนลางของผู้หญิงด้านบน ตามด้วยข้อความที่ว่า “cosa bella mortal passa e non dura” ซึ่งหมายถึง “โฉมงามในที่สุดก็ตายจากไปและไม่ใช่ครั้งสุดท้าย”

davinci-note-1

แต่ในช่วงทศวรรษ 1920s ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์วิกตอเรียและอัลเบิร์ตในกรุงลอนดอน ซึ่งเป็นที่เก็บสมุดโน้ตดังกล่าวไม่ให้สนใจเพราะคิดว่าเป็น “บันทึกข้อความและแผนภาพซึ่งเขียนด้วยชอล์คสีแดง ที่ไม่มีอะไรเกี่ยวข้อง”

เกือบศตวรรษต่อมา Hutchings ค้นพบว่ารูปเรขาคณิตหยาบๆที่เขียนอยู่ใต้บันทึกสีแดงแสดงถึงแถวของบล็อกถูกดึงโดยน้ำหนักที่แขวนอยู่กับลูกรอก ซึ่งเหมือนกับการทดลองที่นักเรียนอาจจะทำในปัจจุบันเพื่อแสดงให้เห็นถึงกฎของแรงเสียดทาน

“ภาพวาดและข้อความแสดงให้เห็นว่าเลโอนาร์โดเข้าใจหลักพื้นฐานของแรงเสียดทานตั้งแต่ปี 1493” Hutchings กล่าวในการแถลงข่าว

“เขารู้ว่าแรงเสียดทานที่กระทำระหว่างสองพื้นผิวที่กำลังเลื่อนไหล เป็นสัดส่วนกับแรงกดที่พื้นผิว และแรงเสียดทานนั้นเป็นอิสระต่อพื้นที่ที่สัมผัสกันระหว่างสองพื้นผิว นี่คือ กฎของแรงเสียดทาน ซึ่งในปัจจุบันเรามักจะให้เครดิตกับนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Guillaume Amontons ที่ได้คิดค้นเมื่อสองร้อยปีต่อมา”

davinci-note-2

Hutchings ยังแสดงให้เห็นว่าดาวินชี ได้ใช้ความรู้ความเข้าใจเรื่องแรงเสียดทานในการออกแบบเครื่องจักรที่ซับซ้อนในช่วงสองทศวรรษต่อมา ดาวินชีได้แสดงให้เห็นประโยชน์และประสิทธิภาพของแรงเสียดทานและนำแนวคิดไปใช้งานกับล้อ เพลา และมู่เล่ ที่เป็นส่วนประกอบในเครื่องจักรที่ซับซ้อนของเขา

“การศึกษาเรื่องแรงเสียดทานยาวนานถึง 20 ปีของเลโอนาร์โด รวมกับประสบการณ์และความเข้าใจในระบบเครื่องจักรหลากหลายรูปแบบ ได้ยืนยันว่าเขาเป็นผู้บุกเบิกที่โดดเด่นและสร้างแรงบันดาลใจในวิชาไทรโบโลยี” Hutchings กล่าว

ใครจะรู้ว่าหากกลับไปพิจารณาบันทึกเก่าๆของดาวินชีอีกครั้ง อาจจะได้พบกับเรื่องที่เหลือเชื่ออีกก็ได้

 

ข้อมูลและภาพจาก  sciencealert, gizmodo

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *