แต่ทั้งหมดจะเปลี่ยนไปถ้าหากโครงการทางวิศวกรรมที่แสนทะเยอทะยานสามารถดำเนินการจนสำเร็จลุล่วง
ประเทศนอร์เวย์ได้ประกาศแผนการที่จะใช้งบประมาณ 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเกือบ 9 แสนล้านบาท ดำเนินโครงการอุโมงค์ลอยใต้น้ำที่ Sognefjord ฟยอร์ดที่ใหญ่ที่สุดในนอร์เวย์ ซึ่งมีน้ำลึกกว่า 4,000 ฟุต และกว้างกว่า 3,000 ฟุต มันจะเป็นครั้งแรกของโลกสำหรับโครงการแบบนี้ และสามารถลดเวลาในการเดินทางข้ามประเทศจาก 21 ชั่วโมงลงเหลือน้อยกว่า 11 ชั่วโมง
โครงการอุโมงค์ลอยใต้น้ำที่ Sognefjord จะประกอบด้วยท่อขนาดใหญ่ 2 เส้นแขวนอยู่ใต้น้ำลึก 100 ฟุต แต่ละท่อจะต้องกว้างพอสำหรับ 2 ช่องทางจราจร
โครงสร้างสะพานใต้น้ำของนอร์เวย์นึ้จะถูกยึดด้วยทุ่นลอยที่ผิวน้ำ เชื่อมต่อด้วยโครงสร้างที่จะทำให้ทุกอย่างมีเสถียรภาพมั่นคง นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ว่าโครงสร้างอาจจะยึดติดกับพื้นหินด้านล่างเพื่อให้มีเสถียรภาพเพิ่มขึ้น
อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถใช้สะพานแบบธรรมดาได้คือสภาพภูมิประเทศที่ทั้งกว้างและลึกมากเกินไป ทางเลือกอื่นนอกจากอุโมงค์ลอยใต้น้ำก็มี เช่น สะพานแขวน หรือสะพานแบบลอยเหนือผิวน้ำ แต่โครงสร้างเหล่านี้มีจุดอ่อนที่มันชำรุดเสียหายได้ง่ายในสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง และพวกมันยังสร้างความยุ่งยากให้กับเรือรบที่ต้องมาฝึกในลำน้ำเป็นครั้งคราวอีกด้วย
มีงานหนักมากในด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องที่จะต้องทำให้สำเร็จ รวมทั้งเรื่องการคำนวณแรงลม คลื่น และกระแสน้ำในฟยอร์ดที่อาจมีผลกระทบต่อโครงสร้าง และต้องคิดถึงความเป็นไปได้ในกรณีต่างๆเพราะระบบนี้ยังไม่เคยถูกสร้างมาก่อน พวกเขาตั้งเป้าหมายให้งานแล้วเสร็จภายในปี 2035
ข้อมูลและภาพจาก techinsider, inhabitat