เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้าและรังสีของมันไปกระทบฟิล์ม MOST ที่หน้าต่าง โมเลกุลพิเศษในฟิล์มจะจับโฟตอนเอาไว้ทำให้เกิดการไอโซเมอไรเซชั่น (Isomerization) มีการจัดเรียงโครงสร้างของโมเลกุลใหม่ ผลคือทำให้ฟิล์มกลายเป็นใสไม่มีสีและสามารถเก็บความร้อนของแสงอาทิตย์ส่วนใหญ่เอาไว้ไม่ให้เข้าไปในห้อง อากาศภายในอาคารจึงยังเย็นอยู่ได้นานลดความจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องปรับอากาศ
พอถึงตอนกลางคืนเมื่อไม่มีแสงอาทิตย์มากระทบโมเลกุลพิเศษในฟิล์มจะเปลี่ยนกลับไปอยู่ในรูปแบบเดิม พร้อมกับค่อยๆปล่อยความร้อนที่มันเก็บสะสมเอาไว้ออกมาภายในห้องในระยะเวลานานถึง 8 ชั่วโมงซึ่งช่วยลดความจำเป็นที่จะต้องเปิดฮีทเตอร์ เป็นการประหยัดพลังงาน 2 ต่อทั้งในตอนกลางวันและตอนกลางคืน เหมาะมากสำหรับอาคารในภูมิภาคที่มีสภาพอากาศกลางวันร้อนกลางคืนหนาว
สิ่งที่นักวิจัยกำลังดำเนินการอยู่คือการเพิ่มความเข้มข้นของโมเลกุลพิเศษและทำให้ต้นทุนของโมเลกุลต่ำลง เชื่อว่าเป้าหมายทั้งสองอย่างจะสำเร็จในเวลาอันสั้น และเราคงจะได้เห็นฟิล์มกรองแสงชนิดใหม่นี้ถูกนำมาใช้งานในเชิงพาณิชย์ในเร็วๆนี้
คลิกชมวิดีโอร่นเวลาแสดงเทคโนโลยีนี้ที่ข้างล่าง
ข้อมูลและภาพจาก chalmers.se, azocleantech