ฟองสบู่จะมีความเปราะบางแตกสลายง่าย ดังนั้นเพื่อป้องกันการแตกหรือการรั่วไหล ทีมงานได้พัฒนาเยื่อของเหลวที่เสริมด้วยซิลิกาพรุนซึ่งบางกว่าฟองสบู่ 10 เท่า แต่จะไม่แตกหรือรั่ว
เอนไซม์ถูกเพิ่มเข้าไปในชั้นของเหลวเพื่อช่วยเพิ่มความเร็วในกระบวนการกำจัด CO2 ทีมงานใช้เอนไซม์ carbonic anhydrase ที่พบในกล้ามเนื้อ เลือด และปอดของมนุษย์ และพบว่ามันทำให้อัตราการละลายของ CO2 เพิ่มขึ้นอย่างมาก
ทีมงานบอกว่าเยื่อบางที่พวกเขาออกแบบสามารถคัดกรอง CO2 ออกจากไอเสียได้ดีกว่าเยื่อกรองคาร์บอนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน 10 – 100 เท่า และทำงานได้เร็วกว่าถึง 100 เท่า และ CO2 ที่ผลิตได้จะบริสุทธิ์ 99% ซึ่งสามารถนำมาใช้งานได้หลายอย่าง เช่น ใช้ในการผลิตคอนกรีต หรือการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากเชื้อแบคทีเรียและสาหร่าย
“ถ้าเรานำมันไปใช้กับโรงไฟฟ้าถ่านหินเพียงโรงเดียว ในหนึ่งปีเราจะสามารถหลีกเลี่ยงการปล่อย CO2 ได้เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 63 ล้านต้น และให้พวกมันเจริญเติบโตเป็นเวลา 10 ปี” นักวิจัยกล่าว
ทีมวิจัยได้รับสิทธิบัตรสำหรับเทคโนโลยี Memzyme เมื่อต้นปีนี้ และแม้ว่ามันเพิ่งจะเริ่มต้น แต่ก็สามารถพูดได้ว่านี่เป็นรายแรกที่ทำได้ถึงเป้าหมายของกระทรวงพลังงานแห่งชาติสหรัฐที่ต้องการให้มีเทคโนโลยีที่สามารถจับ CO2 ในไอเสียที่ปล่อยออกสู่บรรยากาศได้ 90% ที่ค่าใช้จ่าย 40 ดอลลาร์ต่อตัน ภายในปี 2025
ดูการอธิบายเพิ่มเติมเรื่อง Memzyme ในวิดีโอด้านล่าง
ข้อมูลและภาพจาก newatlas, sandia