เหตุผลแรกคือความล้าสมัยที่มีผลต่อคุณภาพเสียงและการใช้งาน ช่องเสียบแจ็คหูฟังแบบกลมขนาด 3.5 มม.นี้เป็นเทคโนโลยี่เก่าที่สุดที่ยังคงเหลืออยู่ในโทรศัพท์มือถือ การเชื่อมต่อแบบนี้ถูกใช้เป็นครั้งแรกในวิทยุทรานซิสเตอร์ในช่วงต้นทศวรรษ 1960s เช่น ในวิทยุ Sony EFM-117J ที่วางขายเมื่อปี 1964
ช่องเสียบหูฟังมีการเชื่อมต่อแบบอะนาล็อก มันถูกใช้มาตั้งแต่ยังไม่มีไฟล์เสียงดิจิตอลซึ่งเป็นรูปแบบมาตรฐานในปัจจุบัน มันไม่สามารถถ่ายโอนข้อมูลได้เท่ากับการเชื่อมต่อดิจิตอลอย่างเช่นการเชื่อมต่อผ่านบลูทูธหรือหัวต่อ Lightning จึงทำให้ได้คุณภาพเสียงที่ต่ำกว่า
Sankur Thiagasamudram ซีอีโอของ Audeze เป็นหนึ่งในคนกลุ่มแรกที่รับรู้ข้อบกพร่องของแจ็คหูฟังขนาด 3.5 มม. และเขาก็ตัดสินใจที่จะเดิมพันครั้งใหญ่กับพอร์ตเสียงรุ่นต่อไป Audeze เป็นบริษัทแรกที่ผลิตหูฟังโดยใช้หัวต่อ Lightning และมีหน่วยประมวลผลสัญญาณดิจิตอล ตัวแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นอะนาล็อก และเครื่องขยายเสียงในหูฟัง ซึ่งทั้งหมดจะทำให้เสียงดนตรีดีขึ้นมาก
“เรามีการควบคุมสัญญาณที่ดีขึ้น” Thiagasamudram ตอบเมื่อถูกถามว่าทำไมเขาถึงตัดสินใจที่จะสร้างหูฟังที่มีการเชื่อมต่อแบบ Lightning “เราได้รับสัญญาณดิจิตอลดิบโดยตรง ดังนั้นเราสามารถทำการประมวลผลสัญญาณก่อนที่เราจะแปลงเป็นอะนาล็อกและส่งไปยังหูฟัง”
ขณะนี้ทุกอย่างเป็นดิจิตอลหมดแล้ว เครื่องเล่นเพลง ไฟล์เพลง และตัวปรับแต่งเสียงหรือ equalizer ทุกขั้นตอนรจะถูกจัดการโดยคอมพิวเตอร์ มันจึงเป็นเรื่องไร้เหตุผลที่จะใช้การเชื่อมต่อแบบอะนาล็อกกับอุปกรณ์ที่ทันสมัยอย่างเช่น iPhone อีกต่อไป หูฟังสามารถทำอะไรได้อีกมากกับสัญญาณดิจิตอลที่ส่งผ่านมาโดยการเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิลผ่านหัวต่อ Lightning หรือการเชื่อมต่อแบบไร้สายผ่านบลูทูธ
อีกเหตุผลหนึ่งก็คือความต้องการพื้นที่ภายในโทรศัพท์ รวมทั้งโอกาสที่จะสามารถทำให้โทรศัพท์บางลง ช่องเสียบหูฟังถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่พอควร ถ้าเอาออกไปก็ช่วยลดอุปสรรคในการออกแบบให้โทรศัพท์มีขนาดบางลงไปได้ส่วนหนึ่ง นอกเหนือจากการได้พื้นที่สำหรับอุปกรณ์อื่นเพิ่มขึ้น
Phil Schiller รองประธานอาวุโสของ Apple กล่าวว่า “สมาร์ทโฟนของเราอัดแน่นไปด้วยเทคโนโลยี และพวกมันเองก็ต่อสู้แย่งชิงพื้นที่กันอย่างมากอยู่แล้ว” การยกเลิกช่องเสียบหูฟังจะทำให้เพิ่มพื้นที่สำหรับเทคโนโลยีที่ดีกว่า รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ๆในอนาคตอีกด้วย
ดังนั้นช่องเสียบหูฟังจึงถึงคราวหมดยุคและจะต้องตายไปในที่สุด และต่อไปก็จะไม่มีใครที่คิดถึงมัน
ข้อมูลและภาพจาก yahoo, gizmodo