กามีย์ ปีซาโร พี่ใหญ่กลุ่มอิมเพรสชั่นนิสม์สองยุคผู้มากทั้งฝีมือและน้ำใจ

กามีย์ ปีซาโร (Camille Pissarro) เป็นจิตรกรผู้มีส่วนสำคัญต่อการกำเนิดและพัฒนาการของลัทธิประทับใจหรือศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ทั้งยุคแรกและยุคหลัง ปีซาโรได้ชื่อว่าเป็นศิลปินที่ชอบทดลองค้นคว้าหาแนวทางและเทคนิคในการเขียนภาพแบบใหม่อยู่เสมอ ดังนั้นแม้ว่าตลอดชีวิตการเป็นจิตรกรเขาแทบจะเขียนแต่ภาพทิวทัศน์เพียงอย่างเดียวแต่ผลงานของเขากลับมีความสวยงามแตกต่างกันไปด้วยสไตล์การเขียนภาพของแต่ละช่วงเวลา โดยเฉพาะช่วงหลังที่เขาหันมาเขียนภาพทิวทัศน์ของกรุงปารีสอย่างภาพชุด Pont Boieldieu และ Boulevard Monmartre ที่เขียนไว้หลายเวอร์ชั่นนั้นมีความโดดเด่นเป็นพิเศษ นอกจากนี้เขายังเป็นพี่ใหญ่ของกลุ่มศิลปินอิมเพรสชั่นนิสม์ทั้งสองยุคที่รุ่นน้องๆนับถือมากเพราะเขาเป็นผู้มากทั้งฝีมือและน้ำใจ

 
ผ่านหลายสำนักกว่าจะขึ้นชั้นมืออาชีพ

camille-pissarro-early-works-04

 
กามีย์ ปีซาโร เป็นชาวเดนมาร์ก-ฝรั่งเศส เกิดเมื่อปี 1830 ที่เกาะ St. Thomas ในทะเลแคริบเบียนซึ่งขณะนั้นเป็นอาณานิคมของเดนมาร์ก ปีซาโรอาศัยเติบโตอยู่บนเกาะจนอายุ 12 ปีพ่อจึงส่งเขามาเรียนที่โรงเรียนประจำในกรุงปารีสหวังให้เขาสานต่อธุรกิจของครอบครัว แต่ตัวเขาชอบศิลปะดังนั้นจึงอาศัยช่วงเวลาว่างไปเป็นลูกศิษย์ของครูศิลปะพร้อมกับเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ในกรุงปารีสและฝึกเขียนภาพวิวทิวทัศน์ตามชนบท ปี 1847 ปีซาโรกลับไปช่วยทำงานของครอบครัวที่บ้านเกิด แต่เขายังฝึกฝนการเขียนภาพอยู่เสมอในยามที่มีเวลาว่าง ปี 1849 เขาได้รู้จักกับ Fritz Melbye จิตรกรชาวเดนมาร์กวัยไม่ห่างกันมากที่เดินทางไกลมาอาศัยอยู่บนเกาะ St. Thomas ซึ่งต่อมากลายเป็นทั้งครูและเพื่อนของเขา ปี 1852 ปีซาโรเลิกทำงานกับครอบครัวติดตาม Melbye ไปฝึกฝีมือการเขียนภาพที่เวเนซุเอลานานกว่าสองปีก่อนจะกลับมาเริ่มต้นอาชีพจิตรกรที่กรุงปารีสในปี 1855

ปีซาโรเริ่มต้นที่เมืองหลวงด้วยการเป็นผู้ช่วยของ Anton Melbye จิตรกรชาวเดนมาร์กพี่ชายของเพื่อน ขณะเดียวกันก็ได้เข้าเรียนการเขียนภาพหลายแห่งทั้งที่สถาบัน École des Beaux-Arts และ Académie Suisse รวมทั้งได้ศึกษาผลงานของศิลปินดังแห่งยุคอย่าง Gustave Courbet และ Jean-Baptiste-Camille Corot ซึ่งได้สอนเทคนิคการเขียนภาพแก่เขาหลายอย่างและเป็นแรงบันดาลใจในการเขียนภาพ “กลางแจ้ง” ของเขาที่ดำเนินต่อเนื่องไปเกือบตลอดชีวิตอีกด้วย ช่วงปี 1856 ปีซาโรได้เขียนภาพทิวทัศน์ของถิ่นเกิดที่เกาะ St. Thomas จากความทรงจำไว้หลายภาพซึ่งล้วนสวยงามน่าประทับใจอย่างเช่นภาพ Two Women Chatting by the Sea และ Landscape with Farmhouses and Palm Trees

 
หาแรงบันดาลใจในการสร้างผลงาน

camille-pissarro-early-works-01

 
ที่สถาบัน Académie Suisse อันเป็นแหล่งรวมของศิลปินหนุ่มไฟแรงทั้งหลายเพราะที่นี่ไม่เพียงจัดเตรียมนางแบบไว้ให้พวกเขาศึกษาภาพเปลือยได้ฟรี แต่ยังเปิดโอกาสให้มีการพูดคุยเพื่อพัฒนาแนวคิดส่วนตัวด้านการเขียนภาพและศิลปะโดยทั่วไป ที่นี่เองที่เขาได้พบกับ Claude Monet, Paul Cézanne และ Armand Guillaumin ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสหายร่วมความคิดศิลปะแนวใหม่ที่สั่นสะเทือนไปทั่ววงการ แต่ในช่วงแรกของการเป็นมืออาชีพปีซาโรยังคงเขียนภาพในสไตล์ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานความนิยมในช่วงเวลานั้นจนได้รับการยอมรับเข้าร่วมแสดงในนิทรรศการศิลปะประจำปี Paris Salon เป็นครั้งแรกในปี 1859 และเข้าร่วมแสดงต่อเนื่องเรื่อยมาอีกหลายปี หากแต่ยังไม่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นดาวเด่นในวงการ

ปี 1860 ปีซาโรพบรักกับ Julie Vellay อดีตสาวใช้ของแม่ ทั้งคู่อยู่กินด้วยกันตั้งแต่ปีนั้นแล้วไปแต่งงานกันในอีก 11 ปีให้หลังขณะที่ Julie กำลังอุ้มท้องลูกคนที่ 4 จากทั้งหมด 8 คน ปี 1866 ปีซาโรย้ายครอบครัวไปอยู่ที่เมือง Pontoise ไม่ไกลจากกรุงปารีส เมืองชนบทที่มีทิวทัศน์สวยงามแห่งนี้สร้างแรงบันดาลใจให้เขาเขียนภาพชั้นยอดออกมาจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือภาพ The Hermitage at Pontoise ปี 1869 เขาย้ายไปอยู่ที่เมือง Louveciennes ใกล้กรุงปารีสเข้ามาอีกหน่อยอันเป็นที่มาของภาพเขียนยอดเยี่ยมอีกไม่น้อย เช่น ภาพ Road to Versailles at Louveciennes (The Snow Effect) และ The Conversation, Louveciennes เป็นต้น ถึงออกมาอยู่นอกเมืองหลวงแต่ปีซาโรยังคงไปพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดบ่มเพาะทิศทางแห่งศิลปะกับเพื่อนฝูงอยู่เสมอที่ร้าน Café Guerbois ในกรุงปารีสอันเป็นที่นัดพบประจำของเหล่าศิลปินรุ่นเยาว์

 
ศิลปะไร้ค่ายามไฟสงครามลามมาถึง

camille-pissarro-london-louveciennes-period-01

 
ปี 1870 เกิดสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียซึ่งเยอรมันเป็นฝ่ายชนะสงครามสามารถเข้ายึดครองกรุงปารีสได้ ไฟสงครามสร้างความหวาดหวั่นแก่ประชาชนไปทั่ว ปีซาโรที่ขณะนั้นยังถือสัญชาติเดนมาร์กต้องนำครอบครัวหลบภัยสงครามไปอาศัยอยู่ที่กรุงลอนดอนแถบ Sydenham และ Norwoods และจำใจต้องทิ้งผลงานภาพเขียนทั้งหมดของเขาไว้ในบ้านที่เมือง Louveciennes ระหว่างอยู่ที่กรุงลอนดอนเขาได้เขียนภาพทิวทัศน์ในถิ่นที่อาศัยอยู่ไว้สิบกว่าภาพที่โดดเด่นได้แก่ภาพ The Avenue, Sydenham และ The Entrance to the Village of Voisins มีบางภาพที่เริ่มเห็นเค้าลางของพัฒนาการสู่ศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ได้ชัดทีเดียวอย่างเช่นภาพ Dulwich College, London เป็นต้น

หลังสงครามสิ้นสุดในปี 1872 ปีซาโรก็กลับฝรั่งเศส พอมาถึงบ้านที่ Louveciennes เขาพบว่าภาพเขียนของเขาราว 1,500 ภาพซึ่งเป็นผลงานตลอด 20 ปีที่ผ่านมาซึ่งเก็บไว้ที่บ้านถูกทำลายไปแทบหมดสิ้นหลงเหลืออยู่เพียง 40 ภาพเท่านั้น งานศิลปะจากฝีมือของเขากลายเป็นของไร้ค่าเมื่อถูกทหารเยอรมันนำไปใช้ปูพื้นทางเดินนอกบ้านเพื่อป้องกันมิให้รองเท้าบูทมันปลาบของพวกเขาเปรอะเปื้อนดินโคลน ภาพเขียนนับพันจึงถูกเหยียบย่ำเสียหายหมดสิ้น แต่เขาก็มิอาจทำอย่างไรได้นอกจากนำความเจ็บปวดในครั้งนี้มาเป็นแรงผลักดันในการสร้างผลงานใหม่ที่ดีกว่าผลงานที่ถูกทำลายไป

 
ร่วมสร้างสรรค์ศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์

camille-pissarro-impressionism-period-01

 
ปี 1872 ปีซาโรย้ายไปอยู่ที่เมือง Pontoise อีกครั้ง ในช่วงเวลานั้น Paul Cézanne ซึ่งพักอยู่ที่เมือง Auvers ไม่ไกลกันได้มาร่วมเขียนภาพด้วยกันเป็นเวลาราว 2 ปี ปีซาโรเป็นทั้งเพื่อนและอาจารย์สอนวิธีการเขียนภาพจากธรรมชาติในสไตล์ใหม่ให้กับเซซานด้วย หลังสงครามใหญ่ผ่านพ้นไปสถานการณ์ของกลุ่มศิลปินรุ่นใหม่ในนิทรรศการ Paris Salon ยังเป็นเช่นเดิม พวกเขาถูกกรรมการพิจารณาผลงานของ Salon ปฏิเสธอยู่เสมอไม่มีโอกาสได้แสดงผลงาน ปี 1873 ศิลปินรุ่นใหม่อันประกอบด้วยปีซาโร, Claude Monet, Pierre-Auguste Renoir, Paul Cézanne และศิลปินอื่นรวม 15 คนจึงตั้งกลุ่มขึ้นเพื่อจัดแสดงผลงานกันเอง งานนิทรรศการของกลุ่มถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1874 ชื่อกลุ่ม “อิมเพรสชั่นนิสม์” ถูกเรียกขานหลังงานนิทรรศการครั้งแรกนี่เอง

กลุ่มศิลปินอิมเพรสชั่นนิสม์ได้จัดนิทรรศการศิลปะรวมทั้งหมด 8 ครั้ง ครั้งสุดท้ายจัดขึ้นในปี 1886 ศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ได้รับความนิยมยกย่องกลายเป็นหนึ่งในการเคลื่อนไหวทางศิลปะที่มีอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ แต่หลายปีที่ผันผ่านความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงนำมาซึ่งความขัดแย้งทางความคิดด้วยเหตุปัจจัยมากมาย ศิลปินร่วมก่อตั้งกลุ่มจึงมีการแยกตัวออกไปบ้าง เข้าร่วมงานนิทรรศการบ้างไม่เข้าร่วมบ้าง มีแต่เพียงปีซาโรเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ส่งผลงานเข้าร่วมในนิทรรศการของกลุ่มทุกครั้ง ผลงานของเขาก็มีความยอดเยี่ยมดุจเดียวกับศิลปินอิมเพรสชั่นนิสม์คนอื่น เขามักได้รับการยกย่องว่ามีความเรียบง่ายและเป็นธรรมชาติมากกว่าคนอื่น ผลงานที่น่าสนใจของเขาในช่วงนี้ได้แก่ภาพ In the Garden of Les Mathurins at Pontoise, Hoar-Frost at Ennery, Orchard in Bloom, Louveciennes และภาพ The Great Walnut Tree, the ‘Rondesr House’, Pontoise เป็นต้น

 
ผู้มากฝีมือและน้ำใจชอบค้นหาสิ่งใหม่

camille-pissarro-neo-impressionism-period-01

 
ปีซาโรนอกจากมีฝีมือยอดเยี่ยมเป็นที่ยอมรับของทุกคนแล้วเขายังมีความโดดเด่นตรงเป็นคนมีน้ำใจและมีมนุษยสัมพันธ์ดีเยี่ยม เขาเข้ากับทุกคนได้ดีสนิทสนมกับเพื่อนศิลปินในกลุ่มทุกคนคอยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างเพื่อน และด้วยอายุที่มากกว่าเพื่อนๆเขาจึงกลายเป็นพี่ใหญ่ของกลุ่มที่น้องๆนับถือไปโดยปริยาย อีกทั้งปีซาโรเป็นคนไม่หวงวิชาความรู้เพื่อนๆจึงชอบมาเขียนภาพด้วยกันกับเขา เขายังคอยสอนเทคนิคในสไตล์อิมเพรสชั่นนิสม์ให้แก่ศิลปินรุ่นหลังที่สนใจเรื่อยมา ดังนั้นเขาจึงเป็นเสมือนอาจารย์ใหญ่แห่งศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์เลยทีเดียว Paul Cézanne มักอ้างอิงถึงเขาว่าเป็น “ศิลปินอิมเพรสชั่นนิสม์คนแรก”

ล่วงเข้าทศวรรษ 1880 ปีซาโรผู้ชอบทดลองค้นคว้าหาแนวการเขียนภาพใหม่ได้เริ่มหันไปสนใจเขียนภาพวิถีชีวิตของชาวเกษตรกรซึ่งเขาเคยทำมาก่อนตอนเป็นวัยรุ่นสมัยอยู่ที่เวเนซุเอลา การเปลี่ยนแปลงนี้เท่ากับเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดยุคอิมเพรสชั่นนิสม์เพราะตอนนั้นเหลือเขาเพียงคนเดียวที่ยังยืนหยัดอยู่ในสไตล์นั้น ปี 1885 ปีซาโรได้พบกับ Georges Seurat และ Paul Signac ผู้กำลังพัฒนาเทคนิคการเขียนภาพแบบผสานจุดสี (Pointillism) เขาได้นำเทคนิคนั้นมาใช้ในเขียนภาพวิถีชีวิตของชาวเกษตรกรกลายเป็นผลงานที่แตกต่างอย่างชัดเจนจากสไตล์อิมเพรสชั่นนิสม์ที่ผ่านมา ผลงานภาพเขียนในสไตล์นี้ต่อมาถูกเรียกว่าลัทธิประทับใจใหม่ (Neo-Impressionism) ผลงานที่โดดเด่นของเขาในช่วงนี้ได้แก่ภาพ Haymaking, Éragny, Peasants’ houses, Eragny และ ภาพ Apple Picking เป็นต้น

 
กลับสู่จุดเดิมที่เพิ่มเติมคือฝีมือที่ล้ำลึก

camille-pissarro-later-years-01

 
หลังจากปีซาโรเขียนภาพในสไตล์ลัทธิประทับใจใหม่อยู่ 4 ปีเขาก็พบว่ามันไม่ใช่ตัวตนของเขาจึงเลิกใช้เทคนิคนั้นหันกลับไปใช้สไตล์อิมเพรสชั่นนิสม์แบบเดิม น่าแปลกใจอยู่ไม่น้อยที่พอกลับมาใช้เทคนิคเดิมผลงานกลับยอดเยี่ยมยิ่งกว่าเก่าอันแสดงถึงความเชี่ยวชาญและฝีมือที่ลึกล้ำขึ้นตามอายุที่ล่วงเข้าสู่วัยชราแล้ว พออายุมากสุขภาพก็ทรุดโทรมอาการกำเริบของการติดเชื้อที่ดวงตาทำให้เขาไม่สามารถนั่งเขียนภาพกลางแจ้งอย่างที่ทำมาตลอดชีวิตได้อีกต่อไปแม้ว่าใจไม่เคยปรารถนาที่จะเขียนภาพอยู่แต่ในสตูดิโอแม้แต่น้อย ดังนั้นปีซาโรจึงเลือกเขียนภาพทิวทัศน์ภายนอกแต่ตัวเขานั่งอยู่ในอาคารแทนนั่งอยู่กลางแจ้งแบบเดิม

ปีซาโรเขียนภาพทิวทัศน์ของกรุงปารีสหลายมุมหลายช่วงเวลาและฤดูกาลขณะที่ตัวเขานั่งอยู่ริมหน้าต่างของโรงแรม ภาพเขียนยุคหลังนี้ได้กลายเป็นผลงานยอดเยี่ยมระดับสุดยอดของเขา โดยเฉพาะภาพชุด Pont Boieldieu และ Boulevard Monmartre ที่เขียนไว้หลายเวอร์ชั่นนั้นมีความโดดเด่นเป็นพิเศษ ผลงานของปีซาโรในช่วงทศวรรษสุดท้ายถือว่ามีความหลากหลายและงดงามที่สุด ผลงานภาพ Pont Boieldieu in Rouen, Rainy Weather, Boulevard Monmartre in Paris, Hay Harvest at Eragny ล้วนเป็นผลงานชิ้นเอกที่ได้รับการยกย่องชื่นชมตลอดมา ปีซาโรเสียชีวิตในปี 1903 ด้วยวัย 73 ปี ทิ้งผลงานอันยอดเยี่ยมนับพันชิ้นไว้ให้ผู้คนได้ชื่นชม

 
ผลงานสุดประทับใจของพี่ใหญ่สองยุค

ปีซาโรเป็นหนึ่งในศิลปินที่ร่วมสร้างสรรค์ศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ให้เป็นที่ชื่นชอบของผู้คนทั่วโลกอย่างยืนยงกว่าศตวรรษมาแล้ว เขาได้ชื่อว่าเป็นศิลปินที่ชอบทดลองค้นคว้าหาแนวทางและเทคนิคในการเขียนภาพแบบใหม่อยู่เสมอและมีส่วนร่วมสร้างศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ทั้งยุคแรกและยุคหลัง ดังนั้นแม้ว่าตลอดชีวิตการเป็นจิตรกรเขาแทบจะเขียนแต่ภาพทิวทัศน์เพียงอย่างเดียวแต่ผลงานของเขากลับมีความสวยงามแตกต่างกันไปด้วยสไตล์การเขียนภาพของแต่ละช่วงเวลา และต่อไปนี้คือส่วนหนึ่งของผลงานสุดประทับใจของศิลปินผู้เป็นพี่ใหญ่ของกลุ่มอิมเพรสชั่นนิสม์ทั้งสองยุค

Early Works (1853 – 1870)

camille-pissarro-early-works-01

The Hermitage at Pontoise

camille-pissarro-early-works-02

Road to Versailles at Louveciennes (The Snow Effect)

camille-pissarro-early-works-03

Two Women Chatting by the Sea

camille-pissarro-early-works-04

Landscape with Farmhouses and Palm Trees

camille-pissarro-early-works-05

The Marne at Chennevières

camille-pissarro-early-works-06

The Louveciennes Road

camille-pissarro-early-works-07

Jalais Hill, Pontoise

camille-pissarro-early-works-08

Antilian Landscape, St. Thomas

camille-pissarro-early-works-09

L´Hermitage à Pontoise

camille-pissarro-early-works-10

The Conversation, Louveciennes

camille-pissarro-early-works-11

A Creek in Saint Thomas, Antilles

camille-pissarro-early-works-12

Banks of the Oise at Pontoise

London & Louveciennes Period (1870 – 1872)

camille-pissarro-london-louveciennes-period-01

The Avenue, Sydenham

camille-pissarro-london-louveciennes-period-02

The Entrance to the Village of Voisins

camille-pissarro-london-louveciennes-period-03

Lordship Lane Station, Dulwich

camille-pissarro-london-louveciennes-period-04

Le Crystal Palace, Londres

camille-pissarro-london-louveciennes-period-05

Dulwich College, London

camille-pissarro-london-louveciennes-period-06

Fox Hill, Upper Norwood

Impressionism Period (1872 – 1884)

camille-pissarro-impressionism-period-01

In the Garden of Les Mathurins at Pontoise

camille-pissarro-impressionism-period-02

The Red Roofs, Côte Saint-Denis at Pontoise, Winter Effect

camille-pissarro-impressionism-period-03

A Cowherd at Valhermeil, Auvers-sur-Oise

camille-pissarro-impressionism-period-04

Self-Portrait (1873)

camille-pissarro-impressionism-period-05

Landscape at Pontoise

camille-pissarro-impressionism-period-06

Hoar-Frost at Ennery

camille-pissarro-impressionism-period-07

Orchard in Bloom, Louveciennes

camille-pissarro-impressionism-period-08

Vegetable Garden

camille-pissarro-impressionism-period-09

The Banks of the Oise near Pontoise

camille-pissarro-impressionism-period-10

Felix Pissarro Wearing a Red Beret

camille-pissarro-impressionism-period-11

Still Life with Apples and Pitcher

camille-pissarro-impressionism-period-12

Banks of the Oise, Pontoise

camille-pissarro-impressionism-period-13

The Pork Butcher

camille-pissarro-impressionism-period-17

The Hay Cart, Montfoucault

camille-pissarro-impressionism-period-15

The Harvest, Pontoise

camille-pissarro-impressionism-period-16

The Great Walnut Tree, the ‘Rondesr House’, Pontoise

camille-pissarro-impressionism-period-14

The Côte des Bœufs at L’Hermitage

camille-pissarro-impressionism-period-18

The Rabbit-Warren, Côte Saint-Denis at Pontoise, Effect of Snow

Neo-Impressionism Period (1884 – 1890)

camille-pissarro-neo-impressionism-period-01

Haymaking, Éragny

camille-pissarro-neo-impressionism-period-02

Apple Picking

camille-pissarro-neo-impressionism-period-03

The House of the Deaf Woman and the Belfry at Eragny

camille-pissarro-neo-impressionism-period-04

Peasants’ houses, Eragny

camille-pissarro-neo-impressionism-period-08

Haymakers at Eragny

camille-pissarro-neo-impressionism-period-06

The Pea Harvest

camille-pissarro-neo-impressionism-period-07

Pear Trees and Flowers at Eragny, Morning

camille-pissarro-neo-impressionism-period-05

Apple Harvest

Later Years (1890 – 1903)

camille-pissarro-later-years-01

Pont Boieldieu in Rouen, Rainy Weather

camille-pissarro-later-years-02

The Pont-Neuf

camille-pissarro-later-years-03

Boulevard Monmartre in Paris

camille-pissarro-later-years-04

Boulevard Montmartre, Spring

camille-pissarro-later-years-05

Autumn, Poplars, Eragny

camille-pissarro-later-years-06

Hay Harvest at Eragny

camille-pissarro-later-years-07

Two Young Peasant Women

camille-pissarro-later-years-08

The Boulevard Montmartre on an Winter Morning

camille-pissarro-later-years-09

Kew Gardens

camille-pissarro-later-years-10

The Boulevard Montmartre at Night

camille-pissarro-later-years-11

The Place du Havre, Paris

camille-pissarro-later-years-12

Rue Saint-Honoré in the Afternoon. Effect of Rain

camille-pissarro-later-years-13

The Artist’s Garden at Eragny

camille-pissarro-later-years-14

Self-portrait (1903)

camille-pissarro-later-years-15

The Big Walnut Tree, Autumn Morning, Éragny

camille-pissarro-later-years-16

Rue de l’Épicerie, Rouen (Effect of Sunlight)

camille-pissarro-later-years-17

Morning, An Overcast Day, Rouen

camille-pissarro-later-years-18

Bath Road, London

กามีย์ ปีซาโร เป็นศิลปินมากฝีมือที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มอิมเพรสชั่นนิสม์และมีบทบาทสำคัญในการประสานความกลมเกลียวของกลุ่มท่ามกลางความขัดแย้งทางความคิดของศิลปินหนุ่มไฟแรงทั้งหลาย มิใช่ด้วยเพราะเขามีอายุมากที่สุดในกลุ่มเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เขายังมีสติปัญญาอันชาญฉลาดและมีน้ำใจไมตรีจากหัวใจอุ่นระอุอีกด้วย ในฐานะศิลปินเขาเป็นผู้ร่วมสร้างศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ทั้งยุคแรกและยุคหลัง อีกทั้งยังเป็นผู้ถ่ายทอดสอนเทคนิคพื้นฐานให้ศิลปินรุ่นน้องไปพัฒนาต่อยอดกันเองแบบไม่หวงวิชา จึงไม่แปลกที่หลายคนมักเรียกเขาว่า “คณบดีของจิตรกรอิมเพรสชันนิสม์”

camille-pissarro-02

 

ข้อมูลและภาพจาก wikipedia,britannica, impressionniste.net

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *