ศาลาสาหร่าย ที่พักผ่อนสำหรับอนาคตที่อากาศในเมืองเต็มไปด้วยมลพิษ

บางครั้งเมื่อคุณรู้สึกเหนื่อยหรือเครียด สิ่งที่คุณต้องการจริงๆคือการหายใจด้วยอากาศที่สะอาดและบริสุทธิ์ นั่นคือแรงบันดาลใจสำหรับนักออกแบบ Adam Miklosi ให้ออกแบบที่พักสำหรับอนาคต Chlorella Pavilion ที่เราอาจเรียกว่า “ศาลาสาหร่าย”

มันเป็นที่พักสูดออกซิเจนรูปตะกร้าที่ใช้คุณสมบัติของสาหร่ายดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 ออกจากอากาศ และฟื้นฟูอากาศด้วยการเติมออกซิเจนกลับเข้ามา โครงสร้างทำด้วยไม้บีชและมีสาหร่ายที่ยังมีชีวิตถูกสูบผ่านแกนกลางและภายนอกของ “น้ำพุสาหร่าย” ที่หมุนวน ผู้ที่เข้ามาใช้บริการจะมีโอกาสที่จะได้สัมผัสกับ การอยู่ร่วมกับสาหร่าย ให้พวกเขาหายใจเอา CO2 ออกมา ซึ่งสาหร่ายต้องการเพื่อการอยู่รอดและสูดออกซิเจนที่สาหร่ายปล่อยออกมา

chlorella-pavilion-4

ความคิดนี้อาจจะดูแปลกใหม่ในตอนแรก แต่มันอาจจะเป็นคำตอบให้กับปัญหาของมลพิษในเมืองและการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เพิ่มขึ้น องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าในปี 2030 ประชากรโลกจะอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ราว 60% และการศึกษาล่าสุดจากองค์การอนามัยโลกพบว่า 92% ของมนุษย์บนโลกใบนี้จะต้องเผชิญกับมลพิษทางอากาศในระดับที่ไม่ปลอดภัย นั่นจะทำให้ผู้คนจำนวนมากจะได้ประโยชน์จาก “ศาลาสาหร่าย” ซึ่งให้อากาศบริสุทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว

chlorella-pavilion-3

การออกแบบโครงสร้างไม่เพียงแค่ทำให้อากาศบริสุทธิ์ ยังใช้แผ่นเทฟลอนกึ่งโปร่งใสเพื่อลดเสียงและภาพที่รบกวน ทำให้เป็นที่ที่เงียบสงบ เป็นส่วนตัว หลีกหนีจากความวุ่นวาย สำหรับผู้คนที่ต้องการที่จะผ่อนคลายและเติมพลัง

chlorella-pavilion-6

รอบแกนกลางมีเก้าอี้นั่งพักสิบตัววางเป็นวงกลม เพื่อที่จะสามารถใช้ช่วงเวลาที่เงียบสงบสำหรับอ่านหนังสือได้เหมือนอยู่ในห้องสมุดแต่สามารถได้รับอากาศบริสุทธิ์ด้วย เก้าอี้สามารถขยับเลื่อนได้ทุกตัวเพื่อความสะดวกในการจะนั่งปรึกษาหารือกัน หรือต้องการพื้นที่ส่วนตัว

chlorella-pavilion-2

นักวิจัยคาดการณ์ว่าการตัดไม้ทำลายป่าในผืนป่าอะเมซอน จะนำไปสู่การปล่อย CO2 ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 12% นับตั้งแต่ปี 1960 และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เช่น ภัยแล้ง มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสามารถของต้นไม้ในการเก็บกัก CO2 เอาไว้ และนั่นก็ทำให้ต้องปล่อยมันออกสู่ชั้นบรรยากาศแทน

chlorella-pavilion-5

 

 

ข้อมูลและภาพจาก   inhabitat, adammiklosi

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *