แล้วพวกมันก็โจมตีปลาซาร์ดีนเหล่านั้น โดยการใช้ปากที่ยื่นยาวคล้ายดาบฟาดฟัน ทำให้ปลาซาร์ดีนที่โดนฟาดบาดเจ็บเสียการทรงตัว พวกมันก็จะจับกินได้ง่ายขึ้น การโจมตีในลักษณะนี้ใช้เวลาไม่มากแต่ก็ทำให้ปลาซาร์ดีนได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก พวกมันทุกตัวจึงได้รับส่วนแบ่งอิ่มหมีพีมันกันไป
“ไม่มีการประสานงาน ไม่มีการผลัดกันล่าหรือกฎเกณฑ์การล่าโดยเฉพาะ มันเป็นเรื่องของโอกาส” James Herbert-Read จากมหาวิทยาลัย Uppsala ในสวีเดน กล่าว
แต่แบบจำลองคอมพิวเตอร์ของเขาได้แสดงให้เห็นว่าด้วยรูปแบบการร่วมมือกันอย่างนี้กลับดีกว่าการแยกกันล่าตัวเดียว ปลากระโทงดาบที่ล่ากันเป็นกลุ่มจะจับปลาซาร์ดีนได้มากกว่าการล่าตัวเดียวในเวลาที่เท่ากัน
นั่นทำให้บางครั้งปลากระโทงดาบมีการรวมกลุ่มกันมากถึง 70 ตัว
“ธรรมชาติเป็นตัวอย่างให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการร่วมมือกันย่อมดีกว่าการทำด้วยตัวเองคนเดียว” Redouan Bshary จากมหาวิทยาลัย Neuchatel ในสวิตเซอร์แลนด์ กล่าว
“กลยุทธง่ายๆแบบนี้สามารถนำไปสู่ภารกิจอันซับซ้อนในอนาคตได้” Herbert-Read กล่าวเพิ่มเติม
ข้อมูลและภาพจาก newscientist