บริษัทญี่ปุ่นวางแผนสร้างภาพเขียนบนท้องฟ้าด้วยฝนดาวตกเทียม

ALE บริษัทสตาร์ทอัพในญี่ปุ่นได้เริ่มโครงการ Sky Canvas ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่จะมีการแสดงฝนดาวตกเทียมซึ่งสามารถจัดแสดงได้ตามเวลาและสถานที่ที่ต้องการ

แผนของโครงการนี้คือจะส่งดาวเทียมขนาดเล็กขึ้นสู่วงโคจร แล้วปล่อยก้อนดาวตกขนาดจิ๋วให้ตกลงสู่โลก เมื่อก้อนดาวตกเทียมเข้าสู่บรรยากาศมันจะลุกไหม้เป็นลูกไฟเหมือนกับดาวตกอยู่ในท้องฟ้า ซึ่งสามารถกำหนดได้ว่าจะให้เกิดขึ้นที่บริเวณใด และจะสามารถมองเห็นดาวตกได้ในรัศมี 200 กิโลเมตร

โครงการมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาลักษณะและพฤติกรรมของดาวตก ในขณะเดียวกันก็สามารถจัดแสดงโชว์ที่น่าสนใจได้อีกด้วย

“ผมรู้สึกตื่นเต้นกับโครงการนี้ ไม่เพียงแต่เพราะว่ามันจะทำให้ความฝันในวัยเด็กกลายเป็นจริง แต่ยังเป็นเพราะมันจะช่วยให้เกิดงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบใหม่ที่ไม่ต้องอาศัยเงินทุนสาธารณะและการบริจาค” Lena Okajima ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ ALE กล่าว

บริษัทในญี่ปุ่น Axelspace จะเป็นผู้จัดหาดาวเทียมให้ ดาวเทียมมีขนาดประมาณ 50 x 50 x 50 เซ็นติเมตร ซึ่งจะบรรทุกอุปกรณ์ควบคุมและติดต่อสื่อสาร เครื่องปล่อยดาวตกและก้อนดาวตกเทียม ดาวเทียมแต่ละดวงจะบรรจุดาวตกเทียม 1,000 ลูก น้ำหนักของดาวเทียมทั้งหมดราว 50 กิโลกรัม

sky-canvas-2

ดาวเทียมจะโคจรรอบโลกแบบ sun-synchronous orbit ซึ่งจะทำให้ดาวเทียมเคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งเดิมบนพื้นโลกในเวลาที่ใกล้เคียงกันในแต่ละวัน

sky-canvas-3

เมื่อก้อนดาวตกเข้าสู่บรรยากาศ แรงเสียดทานกับอากาศจะทำให้มันลุกไหม้แบบเดียวกับดาวตกจริง แต่มันจะเผาไหม้ช้ากว่า และยังแสดงสีได้หลากหลายสี เช่น ขาว น้ำเงิน เขียว และส้ม

sky-canvas-4

ขณะนี้ ALE กำลังทำการทดลองในหลายๆรูปแบบและพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มเติม โดยมีเป้าหมายที่จะส่งดาวเทียมพร้อมกับฝนดาวตกขึ้นสู่วงโครจรในปลายปี 2017 และจะส่งขึ้นไปอีกในทุกๆปี

เป็นที่คาดหมายกันว่าฝนดาวตกของ ALE จะถูกบรรจุเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มความอลังการของพิธีเปิดมหกรรมกีฬาโอลิมปิคที่กรุงโตเกียวในปี 2020

https://youtu.be/vHvyz3h-rRo

 

ข้อมูลและภาพจาก  natureworldnews, star-ale, universetoday

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *