เหตุการณ์นี้สร้างความสนใจแก่ Christine Dudgeon อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยควีนแลนด์ เมืองบริสเบน ออสเตรเลีย ตอนแรกเธอตรวจสอบความเป็นไปได้อย่างหนึ่งคือ Leonie อาจจะเก็บสเปิร์มของตัวผู้เอาไว้และใช้ผสมกับไข่ แต่จากการตรวจสอบทางพันธุกรรมพบว่าลูกๆของ Leonie มีดีเอ็นเอเฉพาะของแม่เท่านั้น ซึ่งมันชัดเจนว่าเป็นการให้กำเนิดแบบไม่อาศัยเพศ
สัตว์มีกระดูกสันหลังบางสายพันธุ์สามารถมีลูกแบบไม่อาศัยเพศได้ แม้ว่าปกติจะสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เช่น ฉลาม ไก่งวง มังกรโคโมโด งู และปลากระเบน แต่ส่วนใหญ่จะพบในตัวเมียที่ไม่เคยมีการผสมพันธุ์มาก่อน
Dudgeon บอกว่าการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศในสัตว์ตัวเมียที่เคยผสมพันธุ์แล้วมีน้อยมาก เคยมีรายงานเฉพาะปลากระเบนนกตัวหนึ่งกับงูโบอาอีกตัวหนึ่งเท่านั้นที่เปลี่ยนการสืบพันธุ์จากแบบอาศัยเพศเป็นไม่อาศัยเพศ
“ในบรรดาสายพันธุ์ที่สามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งสองแบบนั้น จะพบว่าการเปลี่ยนจากแบบไม่อาศัยเพศเป็นอาศัยเพศเพียงเล็กน้อยเท่านั้น” Russell Bonduriansky จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ในซิดนีย์ กล่าว “ส่วนการเปลี่ยนจากอาศัยเพศเป็นไม่อาศัยเพศยิ่งมีน้อยมาก”
สำหรับฉลามการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อไข่ถูกผสมพันธุ์โดยเซลล์ที่เรียกว่า polar body ซึ่งจะมีสารพันธุกรรมของตัวเมียเท่านั้น “มันไม่ใช่กลยุทธ์ในการเอาตัวรอดในระยะยาวเพราะมันลดความหลากหลายในสายพันธุ์และความสามารถในการปรับตัว” Dudgeon กล่าว
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามันเป็นกลไกชั่วคราวที่จะรักษาสายพันธุ์เอาไว้ โดยการส่งต่อยีนส์ของแม่ไปยังลูกตัวเมียเป็นทอดๆจนกระทั่งจะได้ผสมพันธุ์กับตัวผู้ ดังนั้นวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้ค้นพบว่า ‘ตัวผู้’ หมดความหมายโดยสิ้นเชิง ยังไม่ใช่นะ
ข้อมูลและภาพจาก newscientist, gizmodo