จากการติดตามเครื่องหมายเรืองแสง นักวิจัยพบว่าในช่วงเริ่มแรกของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ น้ำตาลส่วนเกินในเลือดได้ทำลายเอนไซม์ที่เรียกว่า MIF (macrophage migration inhibitory factor) ผ่านกระบวนการไกลเคชั่น (Glycation)
ถ้า MIF ทำงานในสมองได้อย่างถูกต้องเต็มที่ มันจะสามารถต่อต้านการสร้างโปรตีนผิดปกติที่จะจับตัวกันเป็นแผ่นและนำไปสู่การเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ แต่ถ้า MIF ถูกทำลายมันก็ไม่สามารถยับยั้งการพัฒนาของโปรตีนผิดปกติดังกล่าวได้
นักวิจัยพบว่าขณะที่มีกระบวนการไกลเคชั่นเพิ่มขึ้น โรคอัลไซเมอร์ก็จะมีการลุกลามมากขึ้น แสดงว่าการล้มเหลวจากการป้องกันในครั้งแรก ทำให้โรคอัลไซเมอร์ได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระมากขึ้น
“ปกติแล้ว MIF จะเป็นส่วนหนึ่งของการตอบสนองจากภูมิคุ้มกันต่อการสร้างโปรตีนผิดปกติในสมอง เราคิดว่าเป็นเพราะการทำลายของน้ำตาลได้ลดการทำหน้าที่ของ MIF และยับยั้งสิ่งอื่นอย่างสมบูรณ์จนเกิดการพลิกผันทำให้สามารถเกิดโรคอัลไซเมอร์ขึ้นได้” Jean van den Elsen นักวิจัยจาก UB กล่าว
“น้ำตาลส่วนเกินนั้นเป็นที่รู้กันดีว่าส่งผลร้ายต่อเรา ทำให้เป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วน แต่จากการที่มันมีความเกี่ยวโยงกับโรคอัลไซเมอร์ จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่เราควรจะควบคุมปริมาณน้ำตาลที่ใส่ในอาหารของเรา” Omar Kassaar นักวิจัยอีกคนจาก UB กล่าวเสริม
ขณะนี้ทั่วโลกมีคนเป็นโรคอัลไซเมอร์ราว 50 ล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 125 ล้านคน ภายในปี 2050
นักวิจัยหวังว่างานของพวกเขาจะทำให้เกิดความเข้าใจสาเหตุและขั้นตอนของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ เพื่อการรักษาหรือป้องกันโรคนี้ได้ดีกว่าเดิม
ข้อมูลและภาพจาก bath, newatlas