นักวิทยาศาสตร์พบว่าเมื่อหนอนชนิดนี้รวมตัวกันเป็นกลุ่ม พวกมันจะว่ายน้ำวนเป็นรูปวงกลมและต่อแถวแบบหัวชนหางกัน นักวิจัยยังพบอีกว่าพฤติกรรมแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยมากเกินกว่าที่จะเป็นเหตุบังเอิญ อาจเป็นไปได้ว่าพฤติกรรมทางสังคมที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่นี้ จะช่วยให้พวกมันควบคุมปริมาณแสงอาทิตย์ที่สาหร่ายที่อยู่ร่วมกับมันได้รับ
นักชีววิทยา ไนเจล แฟรงค์ กล่าวว่า “โดยการรวมกันทางสังคม หนอนเหล่านี้สามารถสร้างสภาพแวดล้อมดีขึ้นเพื่อให้เหมาะกับตัวเอง”
การสืบเสาะค้นหา
ปกติแฟรงค์จะศึกษาเกี่ยวกับมดและพฤติกรรมทางสังคมของพวกมัน แต่สิบกว่าปีที่แล้วเขาได้ซื้อเอกสารเก่าเกี่ยวกับหนอนซอสมินท์จากร้านหนังสือโบราณในราคา 40 เพนนี เขาคิดว่ามันเป็นสัตว์ที่น่าพิศวง แต่ก็รู้ว่ายากที่จะพบพวกมันในเกาะอังกฤษ
ไม่กี่ปีที่ผ่านมา แฟรงค์เริ่มสอนหลักสูตรภาคสนามบนเกาะเกิร์นซีในช่องแคบอังกฤษ ที่ซึ่งได้รับรายงานว่ามีการพบหนอนซอสมิ้นท์
“เมื่อผมเดินทางในฐานะนักชีววิทยา ผมมักจะชอบ ‘แสวงหา’ สิ่งมีชีวิตที่ผมอยากเจอ” แฟรงค์บอก และหนอนซอสมินท์ก็กลายเป็นภารกิจของเขา
หลังจากการสอนหลักสูตรภาคสนามได้ไม่นาน นักวิจัยก็ได้พบหนอนในลักษณะเหมือนพรมที่หนาแน่นบนชายหาดของเกาะเกิร์นซี เขาและนักเรียนของเขาจับดูและสังเกตเห็นบางสิ่งบางอย่างที่แปลกประหลาดทันที
“ทันทีที่พวกมันมีความหนาแน่นสูง” แฟรงค์กล่าว “พวกมันก็จะเริ่มพฤติกรรมการจับกลุ่มวนเวียนเป็นวงกลม”
แฟรงค์บอกว่า การต่อหัวหางวนเป็นวงกลมมีให้เห็นในปลา หนอนผีเสื้อ และแมลงบางชนิด รวมทั้งมดด้วย มดบางชนิดที่ตอบสนองต่อฟีโรโมนของมดอื่น ๆ จะ “ติดกับดัก” อยู่กับการวนเป็นวงกลมและตายจากความอ่อนเพลีย
“พฤติกรรมการวนเป็นวงกลมเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีว่าสัตว์มีการตอบสนองกับตัวอื่นในทางสังคมเป็นอย่างมาก” แฟรงค์กล่าว “และพฤติกรรมทางสังคมในหนอนเหล่านี้ยังไม่เคยได้รับการบันทึกมาก่อน”
การทดสอบหนอนซอสมินท์
เพื่อพิสูจน์ว่าพฤติกรรมการวนเป็นเหตุบังเอิญหรือไม่ แฟรงค์และเพื่อนร่วมงานของเขาใส่หนอนตัวยาว 0.06 นิ้ว (1.68 มิลลิเมตร) ลงไปในน้ำสูง 0.08 นิ้ว (2 มิลลิเมตร) และปล่อยให้พวกมันมีปฏิสัมพันธ์ นักวิทยาศาสตร์บันทึกพฤติกรรมและการเคลื่อนไหวของหนอน จากนั้นพวกเขาสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ของหนอนที่มีขนาดใกล้เคียงกันและเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เท่าๆกัน (ประมาณ 1.78 มิลลิเมตรต่อวินาที) และเมื่อเทียบกับพฤติกรรมของหนอนดิจิตอลเหล่านี้กับหนอนตัวจริง หนอนจริงมีปฏิสัมพันธ์บ่อยมากกว่าการคาดการณ์ของแบบจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมการวนไม่ได้เป็นเหตุบังเอิญ
จากนั้นนักวิจัยได้สร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์อีกแบบหนึ่ง ซึ่งหนอนดิจิตอลมีแนวโน้มที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับตัวอื่นที่อยู่ห่างออกไปหนึ่งหรือสองมิลลิเมตร นักวิจัยพบว่าแบบจำลองนี้สามารถเลียนแบบพฤติกรรมทางสังคมของหนอนจริงได้ดีขึ้น หนอนจะว่ายน้ำต่อๆกันเป็นแนวขนานและสร้างเป็นกองทัพเรือเล็กๆขึ้นมา
สิ่งที่ยังไม่ได้รับการทดสอบคือทำไมสัตว์คล้ายพืชที่แปลกประหลาดนี้จึงมีพฤติกรรมในลักษณะนี้ แฟรงค์สงสัยว่ามันจะเกี่ยวกับโภชนาการ การศึกษาหนอนซอสมินท์ก่อนหน้านี้ได้พบว่าพวกมันมักจะจับกลุ่มในบริเวณที่มีแดดมากเกินไปเล็กน้อยสำหรับสาหร่ายที่อยู่ร่วมกันของพวกมัน หนอนดูเหมือนจะอุดมสมบูรณ์ที่สุดในที่ที่สาหร่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
“ถ้าพวกมันสร้างรูปแบบไบโอฟิล์ม (การเรียงตัวเป็นแผ่นของหนอนจำนวนมากในชั้นที่ค่อนข้างหนาแน่น) พวกมันสามารถจะปรากฏที่ด้านในและด้านนอกของชั้นเพื่อที่จะควบคุมปริมาณของแสงอาทิตย์ที่พวกมันจะได้รับ” เขากล่าว
ทีมวางแผนที่จะศึกษาคำถามนี้ อาจจะโดยการทำเครื่องหมายและติดตามหนอนแต่ละตัว แต่แฟรงค์ยังเก็บไว้เป็นความลับสุดยอด “ไม่ว่าพฤติกรรมหนอนจะเป็นเพราะสาเหตุใดก็ตาม พวกมันคือสัตว์ที่น่ารัก” เขากล่าว
“ผมหมายความว่าพวกมันเพียงแค่น่าประหลาดใจ” เขากล่าว “ถ้าคุณไม่สนใจในความแปลกประหลาดพวกมันก็จะเหมือนสิงโตทะเลสีเขียวที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ พวกมันเพียงแค่ว่ายน้ำไปรอบๆอย่างสบายๆพร้อมกับกระโดดโลดเต้น”