“ชาติสมาชิก 26 จาก 28 ชาติได้กำหนดว่าพวกเขาจะไม่ลงทุนในโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่หลังปี 2020” Kristian Ruby เลขาธิการใหญ่ของ Eurelectric กล่าว “ประวัติศาสตร์จะตัดสินในสิ่งที่เรานำมาบอกในวันนี้ มันมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับข้อตกลงปารีสและฉันทามติของเราที่จะให้การผลิตไฟฟ้าไม่มีการปล่อยคาร์บอนอีกเลยภายในปี 2050”
ถ่านหินนับเป็นศูนย์กลางการพัฒนาของสหภาพยุโรป ช่วยผลักดันให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ แต่มันปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลอื่น รวมทั้งสารพิษ เช่น ซันเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ และฝุ่น ซึ่งทำให้ผู้คนเสียชีวิตถึงปีละกว่า 20,000 คน
Wendel Trio ผู้อำนวยการเครือข่ายปฏิบัติการด้านสภาพอากาศยุโรป (Climate Action Network Europe) เรียกความเคลื่อนไหวในครั้งนี้ว่า “การเริ่มต้นของจุดจบสำหรับถ่านหิน”
“ตอนนี้ชัดเจนแล้วว่าไม่มีอนาคตสำหรับถ่านหินในสหภาพยุโรป” Trio กล่าว “คำถามคือเมื่อไรมันจะเลือนหายไปจากสหภาพยุโรป และกลุ่มอุตสาหกรรมถ่านหินจะต่อสู้มากน้อยแค่ไหนเพื่อที่จะดำเนินกิจการต่อไป”
การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ลดลงเกือบสองในสามทั่วโลกในปี 2016 โดยมีสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำในการเลิกใช้กำลังการผลิตถ่านหินที่มีอยู่
สหภาพยุโรปมีการลงทุนขนาดใหญ่ในแหล่งพลังงานหมุนเวียนอย่างต่อเนื่องทั้งพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ปี 2016 สหภาพยุโรปปล่อยสารพิษจากถ่านหินลดลงราว 11% ซึ่งเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2010
ขณะเดียวกันประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์กลับให้คำมั่นว่าจะฟื้นฟูกิจการถ่านหิน แต่อย่างไรก็ตามกิจการสาธารณูปโภคในสหรัฐฯต่างหันหลังให้ถ่านหิน นิยมใช้ก๊าซธรรมชาติและพลังงานหมุนเวียนมากกว่า ปฏิกิริยาของทรัมป์ไม่ได้มีผลต่อการลงทุนที่ไม่สนใจใช้ถ่านหินของพวกเขาเลย
“ผมจะไม่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ในสถาการณ์ปัจจุบัน” Ben Fowke ซีอีโอของบริษัท Xcel Energy ผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ในสหรัฐฯกล่าว “และเมื่อผมไม่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ ในที่สุดมันก็จะหมดไปเอง”
ข้อมูลและภาพจาก theguardian, inhabitat