นอกจากนี้ตามการศึกษาที่ดำเนินการโดยนักวิจัยในประเทศโปแลนด์พบว่า ผู้เล่นวิดีโอเกมยังมีปฏิกิริยาตอบสนองได้เร็วกว่า
การศึกษาก่อนหน้านี้พบความแตกต่างในเรื่องการทำงานสมองของผู้ที่เล่นวิดีโอเกมเทียบกับผู้ที่ไม่เล่น ตัวอย่างเช่นผู้เล่นวิดีโอเกมสามารถทำงานที่ซับซ้อนมากกว่าด้วยความพยายามที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับผู้เล่นที่ไม่เล่นวิดีโอเกม
อย่างไรก็ตาม Natalia Kowalczyk ผู้วิจัยกล่าวว่า เรารู้เรื่องน้อยมากว่าการเล่นวิดีโอเกมมีผลต่อลักษณะของสมองได้อย่างไร
ในการศึกษาครั้งนี้นักวิจัยได้ทำการเปรียบเทียบผู้เล่นวิดีโอเกม 31 คนกับผู้ที่ไม่เล่นวิดีโอเกม 29 คน ทุกคนเป็นผู้ชายและมีอายุเฉลี่ย 25 ปี นักวิจัยได้เลือกผู้เล่นที่เคยเล่นเกม StarCraft II อย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา ในขณะที่กลุ่มผู้ที่ไม่เล่นวิดีโอเกมนั้นเล่นวีดีโอเกมไม่เกิน 10 ชั่วโมงในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา
นักวิจัยได้ใช้การสแกนสมองที่เรียกว่าการถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) เพื่อดูความแตกต่างของโครงสร้างในสมองของผู้เข้าร่วม นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมได้รับทดสอบปฏิกิริยาการตอบสนองในขณะที่ถูกสแกนด้วย
นักวิจัยพบว่าผู้เล่นวิดีโอเกมมีสมองเนื้อเทามากกว่าเมื่อเทียบกับผู้เล่นที่ไม่เล่นในสองพื้นที่ของสมองคือ The putamen ข้างขวา และ globus pallidus ซึ่งส่วนสมองเหล่านี้จะช่วยในการควบคุมการเคลื่อนไหวในร่างกาย ตัวอย่างเช่นการกดตัวควบคุมวิดีโอเกม
ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าจำนวนที่มากกว่าของสมองสีเทามีอยู่ในคนเหล่านี้ก่อนที่จะเริ่มเล่นเกมหรือเป็นผลมาจากการเล่นเกม แต่มันก็เป็นไปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้อาจทำให้มีการเคลื่อนไหวดีขึ้น เพื่อที่ว่าพวกเขาจะได้ทุ่มเทพลังสมองไปในเรื่องการบงการเกม เช่นการวางกลยุทธ เป็นต้น
นักวิจัยยังพบว่าผู้เล่นวิดีโอเกมยังมีปฏิกิริยาตอบสนองเร็วกว่าผู้เล่นที่ไม่เล่น ในการทดสอบปฏิกิริยาผู้เข้าร่วมต้องบอกตำแหน่งไฟกะพริบที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ แม้ว่าผู้เล่นวิดีโอเกมมีปฏิกิริยาตอบสนองได้รวดเร็วมากกว่า แต่ไม่มีความแตกต่างในความถูกต้องระหว่างทั้งสองกลุ่ม