ภายในมดลูกเทียมบรรจุด้วยสารละลายอิเล็กโทรไลต์ที่ทำหน้าที่เหมือนน้ำคร่ำในมดลูก ท่อยางที่ทำหน้าที่ส่งสารอาหารและออกซิเจนและเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกมานั้นเชื่อมต่อกับสายสะดือของลูกแกะ โดยหัวใจของลูกแกะเองจะปั๊มเลือดผ่านทางสายสะดือไปยังเครื่องแลกเปลี่ยนก๊าซที่อยู่ภายนอกถุงมดลูกเทียม
แผนภาพด้านล่างแสดงการทำงานของมดลูกเทียม
“เราประสบความสำเร็จอย่างมากในการทดลองเลี้ยงลูกแกะในมดลูกเทียม” Alan Flake นักวิจัยอาวุโสกล่าว “พวกมันเติบโตตามปกติ พวกมันมีปอดและสมองที่เจริญเติบโตเต็มที่ พวกมันมีพัฒนาการเป็นปกติในทุกๆด้าน”
นักวิจัยบอกว่าวัตถุประสงค์หลักไม่ใช่การกำจัดบทบาทสำคัญของแม่ในการตั้งครรภ์ แต่เพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดด้วยการเลี้ยงในมดลูกเทียมจนกว่าจะเติบโตเต็มที่พร้อมที่จะออกมาสู่โลกภายนอก
เด็กทารกที่คลอดขณะที่อายุครรภ์น้อยกว่า 25 สัปดาห์มีโอกาสรอดชีวิตค่อนข้างน้อย Kevin Dysart แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทารกแรกเกิดที่โรงพยาบาลเด็กฟิลาเดลเฟียบอกว่า เด็กทารกชาวอเมริกัน 30,000 คนที่คลอดก่อนกำหนดจะรอดชีวิตเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น และผู้ที่รอดชีวิตก็มักจะไม่สมประกอบ
นักวิจัยหวังว่าจะทำการศึกษาทุกอย่างให้สำเร็จภายใน 3 – 5 ปี และถ้าได้รับการรับรองแล้วพวกเขาจะเริ่มทดสอบกับเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด
ข้อมูลและภาพจาก natureworldnews, sciencealert