Rifath ตั้งชื่อสิ่งประดิษฐ์ของเขาว่า KalamSat ตามชื่อของ Abdul Kalam นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ที่เป็นอดีตประธานาธิบดีของอินเดีย ดาวเทียมจิ๋วของ Rifath จะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศจากฐานปล่อยจรวด Wallops Flight Facility รัฐเวอร์จิเนีย ในวันที่ 21 มิถุนายน 2017
KalamSat ถูกกำหนดให้เดินทางกับเที่ยวบิน sub-orbital (ไม่โคจรรอบโลก) นาน 4 ชั่วโมง และจะได้ปฏิบัติการในสภาพความโน้มถ่วงน้อยมาก (micro-gravity) เป็นเวลา 12 นาที วัตถุประสงค์หลักเป็นการทดสอบความทนทานของโครงคาร์บอนไฟเบอร์ที่เบาหวิว
“เราออกแบบมันเองอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่ต้น” Rifath กล่าว “มันจะมีคอมพิวเตอร์ออนบอร์ดแบบใหม่และเซ็นเซอร์ 8 ตัวสำหรับวัดความเร่ง อัตราการหมุน และสนามแม่เหล็กโลก”
นาซาได้ค้นหาแนวคิดอื่นนอกเหนือจากทีมนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่ทำงานเป็นประจำอยู่แล้ว เป็นการพิสูจน์ว่าแนวคิดด้านวิทยาศาสตร์ที่ดีมาได้จากทุกแห่ง ไม่ว่าคุณจะเป็นใครหรืออายุน้อยสักเท่าใดก็ตาม
เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมานาซาเป็นข่าวฮือฮาเมื่อมีเด็กหนุ่มอายุ 17 ปี Miles Soloman ได้พบข้อมูลที่ผิดพลาดจากการรายงานของเครื่องมือที่สถานีอวกาศนานาชาติ
และไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้นาซาได้ประกาศจะนำอุปกรณ์ที่เรียกว่า miniPCR ขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติเพื่อตรวจหาจุลินทรีย์เป็นครั้งแรก อุปกรณ์ดังกล่าวเป็นผลงานการประดิษฐ์ของเด็กสาวอายุ 17 ปีชื่อ Anna-Sophia Boguraev
เรารู้สึกตื่นเต้นและดีใจกับเด็กๆที่ได้แสดงความสามารถให้เป็นที่ประจักษ์ และขอเอาใจช่วยหนุ่มน้อยคนเก่งให้ KalamSat ปฏิบัติงานสำเร็จอย่างที่ตั้งใจไว้
ข้อมูลและภาพจาก sciencealert, futurism