หลังจากนั้นแมงมุมก็ผลิตใยของมันตามปกติ แต่ใยของมันกลับแข็งแรงเพิ่มขึ้นราว 5 เท่าตัว ทำให้มันแข็งแรงเทียบเท่ากับเส้นใยคาร์บอนบริสุทธิ์และเคฟล่า (Kevlar) เส้นใยสังเคราะห์ที่เป็นวัสดุที่แข็งแรงที่สุดในโลก
ทีมวิจัยพบว่าเส้นใยที่แข็งแรงที่สุดที่แมงมุมปั่นออกมามีค่าความต้านทานการแตกหัก (Fracture Strength) ถึง 5.4 จิกะปาสคาล (GPa) และค่าความเหนียว (Toughness Modulus) มากถึง 1,570 จูนต่อกรัม (J/g) เทียบกับใยแมงมุมทั่วไปที่มีค่าความต้านทานการแตกหักอยู่ที่ประมาณ 1.5 GPa และค่าความเหนียวประมาณ 150 J/g
“เรารู้อยู่แล้วว่ามีแร่ชีวภาพ (Biomineral) ปรากฏอยู่ในรูปโปรตีนและเนื้อเยื่อแข็งของแมลง ซึ่งทำให้อวัยวะบางอย่างของแมลงแข็งแกร่งมากและมีความแข็งเป็นพิเศษ เช่น ขากรรไกรและฟัน” Nicola Pugno หัวหน้าทีมวิจัยกล่าว “ดังนั้นงานวิจัยของเราจึงมุ่งไปที่การปรับปรุงคุณสมบัติของใยแมงมุม โดยการนำวัสดุนาโนหลายชนิดไปรวมเข้าในโครงสร้างโปรตีนของใยแมงมุม”
การปรับปรุงคุณสมบัติของใยแมงมุมนี้ยังเป็นเพียงขั้นเริ่มต้นของงานวิจัย และผลลัพธ์ดังกล่าวก็ได้รับมาจากใยแมงมุมจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น ยังจำเป็นที่จะต้องทดสอบกันอีกมาก ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามที่หวัง จากงานวิจัยนี้สามารถนำไปสู่การใช้แมงมุมนับล้านตัวผลิตใยออกมาสำหรับใช้ทำร่มชูชีพ เชือก สายเคเบิล และอย่างอื่นอีกมาก
และนั่นเป็นเพียงแค่บางส่วนของศักยภาพในการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยชิ้นนี้ Pugno เชื่อว่ามันสามารถใช้กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นนอกเหนือจากแมงมุมได้ด้วย
“กระบวนการของการรวมกันตามธรรมชาติในการเสริมความแข็งแรงของวัสดุโครงสร้างทางชีววิทยานี้สามารถใช้ได้กับสัตว์และพืชชนิดอื่น ซึ่งจะนำไปสู่การมีวัสดุผสมชนิดใหม่สำหรับใช้งานกับนวัตกรรมใหม่ในอนาคต” Pugno กล่าว
ข้อมูลและภาพจาก futurism, newatlas