อินเตอร์เฟอรอนเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อกำจัดเชื้อโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อไวรัสปัจจุบันมีการนำเอาอินเตอร์เฟอรอนมาใช้เป็นยาเพื่อการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบีและโรคไวรัสตับอักเสบซีชนิดเรื้อรัง ซึ่งยาอินเตอร์เฟอรอนมีผลทั้งฆ่าไวรัสและควบคุมระดับภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของผู้ป่วย แต่เป็นยาที่มีราคาแพงมาก
นักวิจัยทำการดัดแปลงพันธุกรรมเซลล์ตั้งต้นในสเปิร์มของไก่ให้ผลิตสารอินเตอร์เฟอรอนเบต้า จากนั้นนำเซลล์ที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมไปผสมพันธุ์ในไข่ที่เป็นลูกไก่ตัวผู้ หลังจากไก่ตัวผู้ที่ดัดแปลงพันธุกรรมผสมพันธุ์กับไก่ตัวเมียผ่านไปสองสามรุ่น นักวิจัยพบว่าในไข่ขาวของลูกหลานของมันมีสารอินเตอร์เฟอรอนเบต้าอยู่ด้วย ปัจจุบันมีไก่ตัวเมีย 3 ตัวที่ออกไข่พิเศษนี้ทุก 1 – 2 วัน
ในอนาคตทีมวิจัยมีแผนที่จะผลิตสารอินเตอร์เฟอรอนเบต้าจำนวนหลายสิบจนถึงหนึ่งร้อยมิลลิกรัมในไข่ฟองเดียว ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตสารอินเตอร์เฟอรอนเบต้าลดลงอย่างมหาศาล และนั่นคือวัตถุประสงค์หลักของโครงการวิจัยนี้
“นี่เป็นผลลัพธ์ที่เราหวังจะนำไปสู่การพัฒนาของยาที่มีราคาถูก” Hironobu Hojo ศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยโอซาก้ากล่าว
สำหรับตอนนี้ไข่ป้องกันโรคมะเร็งถูกใช้เฉพาะในห้องแล็บเท่านั้น แต่หากมันสามารถผ่านการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยทางยา (ซึ่งยากมาก) มันก็อาจได้รับอนุมัติให้คนกินได้
“ในอนาคตจะต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติของสารอินเตอร์เฟอรอนเบต้าในไข่อย่างละเอียดและตัดสินว่ามันมีความปลอดภัยเพียงพอสำหรับการเป็นผลิตภัณฑ์ยา”
ข้อมูลและภาพจาก the-japan-news, seeker