Yanagisawa ทำการทดสอบซ้ำหลายอีกหลายรอบเพื่อยืนยันว่ามันเป็นวัสดุที่ซ่อมตัวเองได้จริงๆ เขายังพบอีกว่าวัสดุนี้สามารถกลับไปมีความแข็งแรงเหมือนเดิมหลังจากทิ้งเอาไว้เพียงไม่กี่ชั่วโมง
พอลิเมอร์ชนิดนี้เรียกว่า polyether-thioureas เป็นพอลิเมอร์น้ำหนักเบาซึ่งใช้เพิ่มความสามารถของพันธะไฮโดรเจนในสารไทโอยูเรียเมื่อมันถูกตัดหรือฉีกขาด แต่นี่ก็ไม่ได้เป็นครั้งแรกที่มีการประดิษฐ์วัสดุที่สามารถซ่อมตัวเองได้ เมื่อต้นปีที่ผ่านมานักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียได้ประดิษฐ์วัสดุที่ซ่อมแซมตัวเองได้เช่นกัน เพียงแต่ต้องใช้เวลาในการซ่อมแซมตัวเองนานเป็นวัน
และนี่เป็นวัสดุแข็งตัวแรกที่มีคุณสมบัติซ่อมแซมตัวเองได้ที่อุณหภูมิห้อง วัสดุซ่อมตัวเองได้อย่างอื่นมักจะต้องให้ความร้อนก่อนเพื่อกระตุ้นคุณสมบัตินี้ อีกทั้งวัสดุใหม่นี้ยังสามารถเชื่อมต่อรอยแตกได้ในเวลาที่รวดเร็วกว่าวัสดุอื่นอีกด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะพันธะไฮโดรเจนรูปแบบพิเศษของพอลิเมอร์ชนิดนี้ที่ให้ความแข็งแรงเหมือนกระจกทั่วไปและยังซ่อมแซมตัวเองได้
เทคโนโลยีนี้อาจสามารถพลิกโฉมหน้าจอสมาร์ทโฟนได้ในไม่ช้า มีผลสำรวจบอกว่าครึ่งหนึ่งของคนทั่วโลกจะต้องทำหน้าจอสมาร์ทโฟนแตกอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต เหตุผลอย่างหนึ่งที่ผู้ผลิตชอบใช้กระจกทำหน้าจอสมาร์ทโฟนมากกว่าพลาสติกที่อ่อนและเหนียวคือกระจกสามารถรีไซเคิลได้ง่ายกว่า
Yanagisawa เชื่อว่ากระจกชนิดใหม่ของเขาสามารถเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนกว่าสำหรับการใช้ทำหน้าจอสมาร์ทโฟน เพราะมันจะทำให้มีหน้าจอที่แตกชำรุดและสมาร์ทโฟนที่ถูกโยนทิ้งน้อยลง
“ผมหวังว่ากระจกที่ซ่อมแซมตัวเองได้นี้จะเป็นวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตัวใหม่ที่ทำให้หมดความจำเป็นที่จะต้องโยนทิ้งเมื่อมันแตก” Yanagisawa กล่าว
https://youtu.be/fP–cjG7o5g
ข้อมูลและภาพจาก mentalfloss, ubergizmo