คำอธิบายที่เป็นไปได้สำหรับวงโคจรที่แปลกประหลาดจะของ 2015 BP519 คือจะต้องมีดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่ง อยู่ห่างไกลจากดาวเนปจูน และมีมวลมากกว่าโลกราว 10 เท่า ส่งแรงดึงดูดมาที่มัน ทำให้มันโคจรแบบนั้นได้
“มันไม่ได้พิสูจน์ว่าดาวเคราะห์ดวงที่ 9 มีอยู่จริง” David Gerdes นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนหนึ่งในทีมวิจัยกล่าว “แต่ผมกำลังบอกว่าการปรากฏของวัตถุแบบนี้ในระบบสุริยะของเรามันสนับสนุนการคงอยู่ของดาวเคราะห์ดวงที่ 9”
2015 BP519 ถูกพบจากข้อมูลในโครงการสำรวจพลังงานมืด (Dark Energy Survey) ซึ่งกำลังพยายามทำแผนที่ทุกส่วนในอวกาศให้ละเอียดที่สุดเพื่อศึกษาเรื่องสสารมืดและพลังงานมืด
และหลักฐานใหม่นี้มันไปสอดคล้องกับการทำนายของนักวิจัยเมื่อสองปีก่อนที่ได้สังเกตเห็นการจัดวางตำแหน่งที่แปลกพิกลของวัตถุในแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt Objects) ที่บริเวณขอบของระบบสุริยะ
มีวัตถุในแถบไคเปอร์ 6 ดวงที่ดูเหมือนจะถูกบังคับให้โคจรในตำแหน่งที่ผิดปกติโดยวัตถุขนาดใหญ่ที่ซ่อนตัวอยู่ Konstantin Batygin and Mike Brown สองนักดาราศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย ระบุว่าวัตถุเหล่านั้นโคจรด้วยมุมที่สูงชันด้วยแรงดึงดูดจากดาวเคราะห์ดวงที่ 9 แบบเดียวกับ 2015 BP519
ทีมวิจัยได้ทำการคำนวณมาตั้งแต่ปี 2014 โดยแบบจำลองคอมพิวเตอร์ครอบคลุมช่วงเวลาหลายพันล้านปีเพื่อค้นหาและอธิบายว่า 2015 BP519 ที่เพิ่งค้นพบใหม่นี้มันไปอยู่ตรงนั้นได้อย่างไร ทางเดียวที่ทำให้แบบจำลองสอดคล้องกับสิ่งที่พบเจอด้วยกล้องโทรทรรศน์ก็คือต้องมีดาวเคราะห์ขนาดใหญ่อีกดวงหนึ่ง
นักวิจัยบอกว่านี่เป็นหลักฐานและร่องรอยที่เย้ายวนใจมากที่พวกเขาได้พบว่าอาจมีดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งโคจรรอบดวงอาทิตย์ และหากดาวเคราะห์ดวงที่ 9 มีอยู่จริง พวกเขาคาดว่ามันจะเป็นเหมือนก้อนน้ำแข็งที่หนาวเย็นขนาดมหึมา
“มันไม่มีทางอื่นที่สมเหตุสมผลสำหรับการที่วัตถุในแถบไคเปอร์สามารถโคจรในมุมสูงชันแบบนั้นได้” Batygin กล่าว “ผมคิดว่าในตอนนี้กรณีการคงอยู่ของดาวเคราะห์ดวงที่ 9 เป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมจริงๆ”
ข้อมูลและภาพจาก sciencealert, futurism