โครงการนี้เป็นผลงานของ Daniel Nocera และ Pamela Silver อาจารย์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
เช่นเดียวกับรุ่นก่อนหน้านี้ ใบไม้เทียมรุ่นใหม่จะถูกจุ่มลงในน้ำ และในขณะที่มันดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ มันจะสามารถแยกโมเลกุลของน้ำให้กลายเป็นก๊าซไฮโดรเจนและออกซิเจน ซึ่งสามารถนำไปใช้กับเซลล์เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า แต่ตอนนี้โดยการใช้แบคทีเรีย Ralstonia eutropha ทำให้สามารถนำไฮโดรเจนมาใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงเหลวได้
ใบไม้เทียมรุ่นใหม่สามารถเปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นชีวมวลด้วยประสิทธิภาพที่ 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งดีกว่าพืชในธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ ถึง 10 เท่า
ในขณะที่ยังมีช่องว่างอีกมากที่จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้นได้อีก นักวิจัยกล่าวว่าการทำงานของมันในปัจจุบันก็ดีพอที่จะพิจารณาใช้งานเชิงพาณิชย์ได้ Nocera มีแผนที่จะใช้มันเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ราคาไม่แพงในประเทศกำลังพัฒนา โดยใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าของแต่ละครัวเรือน
ชมวิดีโอเกี่ยวกับใบไม้เทียม “bionic leaf 2.0” ได้ที่ด้านล่าง
ข้อมูลและภาพจาก giamag, harvard magazine, cnet